Saturday, February 25, 2006

ภาษาไทยอาจสูญไปในอีกสองทศวรรษถ้าไม่ทำอะไร

นี่ผมคิดจริงๆว่า ภาษาไทยอาจสูญไปในอีกสองทศวรรษ อย่างน้อยก็ในทางวิชาการและในระบบดัชนีในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่ทำอะไร

ว่างๆจะมาเขียนต่อ

Friday, February 24, 2006

ภาษาไทยปัจจุบันกับวิทยาศาสตร์

สมัยผมเป็นเด็กนักเรียน ผมชอบวิชาภาษาไทย และ วรรณคดีไทย ตอนผมยังเล็ก ผมอ่านรามเกียรติ์ฉบับ ร. ๑ จบทุกเล่มตั้งแต่เรียน ประถม ๔

แต่พอผมจบวิทยาศาสตร์มา บางครั้งต้องแปลบทความวิชาการภาษาอังกฤษเป็นไทย รู้สึกว่า แม้ว่าเราจะภาษาไทยดี แต่ก็ประสบปัญหาแปลเป็นไทยได้ลำบาก (แล้วเด็กรุ่นใหม่ที่เรียนโปรแกรม ELP (English Language Program) ตั้งแต่ประถม จนเป็นแฟช้ันนี่จะเป็นยังไง ภาษาไทยจะกระดิกหูไหมเนี่ย)

ปัญหาที่พบหลักๆมีสองอย่าง

๑ รูปประโยคภาษาไทยปัจจุบัน ที่ไม่ค่อยใช้เครื่องหมายต่างๆ เช่น คอมม่า (เรียกว่าอะไรหว่า) ทำให้ถอดประโยคสลับซับซ้อนออกมาให้คนอ่านเข้าใจได้และสำนวนสละสลวยทำได้ยาก
๒ ศัพท์บัญญัตไทย นิยมใช้คำไทยมาแทนศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศ ทำให้เวลาแปลแล้ว คนอ่านจะบอกได้ยากว่า ครงไหนเป็นคำธรรมดา ตรงไหนเป็นศัพท์เทคนิค และถ้าในอนาคตจะไปเขียนโปรแกรมมาทำ text processing แล้วยิ่งเข้าป่าไปเลย
ตัวอย่างเช่น คำว่า species น่าจะใช้ว่า สปีชี่ส์ มากกว่า ชนิด และคนไทยไม่น้อยแม้นักวิชาการเองก็เผลอไปใช้คำที่ไม่ถูกว่า สายพันธุ์ แทน ซึ่งบัญญัติไว้สำหรับคำว่า strain

การไม่ทับศัพท์เป็นการไม่ฉลาด คงเป็นเพราะนักภาษาไทยเป็นคนบัญญัติ แต่ไม่ได้ถามนักวิทยาศาสตร์ มุ่งสอนให้คนธรรมดาเข้าใจ พอสื่อความหมายได้คร่าวๆ แต่ไม่ได้คำนึงถีงผลเสียคือ unequivocal clarity / unambiguous meaning

โพสต์แรก

ไม่รู้ว่า บล๊อกนี้จะยืนยาวไปแค่ไหน เพราะเวลาไม่ค่อยมี แต่คำศัพท์ไทยก็เป็นอะไรที่เราสนใจมากๆ และการเก็บไว้ในนี้ก็อาจจะมีประโยชน์กับคนอื่นก็ได้
เนื้อหาในบล๊อกนี้่ก็คงจะเป็นอะไรๆที่เกี่ยวกับคำ ที่มีใช้ในภาษาไทย ที่เราไปเจอมาและเราใส่ความเห็นส่วนตัวเข้าไปด้วย