Monday, May 23, 2016

An old Thai poem that listed heteronyms

Thais have so many poems that listed words to help old-time students memorizing various spellings.   Recently, I was thinking of an old poem that I heard from my primary school 's dictation class (some 50 years ago) then I looked up the Net to fill in missing verses in my old memory. Then I found out that the current version shown elsewhere is slightly different from what I remember. So here I want to record my version so that it is not lost forever. This one is interesting that it listed Thai heteronyms, in Thai called คำพ้องรูป . The rhymes in the poem helped readers know how to vocalize particular ones in each pair. I decided then to high-light the heteronymous pairs later. It is interesting that some of the Thai words and meanings are no longer known to the current generation and they are not listed in latest Thai language dictionaries.

กระบวนหนึ่ง ตัวเขียน ไม่เปลี่ยนแปลก
แต่อ่านแยก สองความ ตามวิถี
วัดเขมา โกฐเขมา เพลาก็มี
พอลมดี ก็ถึงครา เพลาเย็น
ที่ริมเชิง เสลา ภูผาใหญ่
ล้วนกอไผ่ ลำสล้าง เสลาเห็น
หัดโบกปูน ใบเสมา กว่าจะเป็น
หน้าโฮเตล ปลูกเสมา ดูเพราตา
ใครไปตัด ต้นโสน ที่คลองโสน
ตัดจนโกร๋น เหี้ยนหัก เอาหนักหนา
ปูแสม แลเขดา เขดาระงา
เป็นวาจา สองเงื่อน อย่าเฟือนความ
จีนยี่โหง โผเล่น กระเดนโหง
เสียงดังโผง ฟาดหึ่ง ดังผึงผาง
ที่ดงแขม เมืองแขม แลดูบาง
ท้องตราวาง เมืองแขม แปลสำเนา
ใครคุมเหง จีนเหง จนเซซวด
ไอ้เจ๊กฮวด นี่มันเก่ง คุมเหงเขา
อย่างหวงแหน จอกแหน ให้แก่เรา
พอลมเพลา ก็เพลา จะสายัณห์
วันเสว เสวกา จะมาพร้อม
อย่าพวง หลงล้อม พวงปะหนัน
ที่บวงสรวง สรวงเส ท้าวเทวัญ
ดูน่าพิศวงครัน นึกหวั่นแด
คนขี่ม้า บ่าวพระยา รามคำแหง
ชื่ออ้ายแดง ตกม้า ทำหน้าแหง
ผอบกับ ผอบทอง เป็นสองแคว
อ่านจงแล ดูความ ตามทำนอง

List of the Thai heteronymous pairs (reading differently despite same spellings) in the above poem. (Pronunciation guide is given in accompaning parenthesis, followed by its meaning, if known)

วัดเขมา   (Wat Khema, name of a Buddhist monastery, Khema is a Pali word, means pleasure) vs. โกฐเขมา (Kot Kamao, a medicinal herb,  Atractyloides lancea (Thung.) DC. ExH )

เพลา (Plao = lap, seated upper-legs, or an axle) vs. เพลา (Pe-la = time)
เสลา (Sela = stony mountain)  vs.  เสลา  (Salao = (adj. good-looking tall and slender tree shape,  vs. เสลา (Salao = a tree, Lagerstroemia tomentosa, C. Presl)     
เสมา (Sema = marking stones of a Buddhist Uposoth (ordination hall) vs  เสมา  (Samao = a tree, Opuntia elatior Mill. ExS )
ต้นโสน or โสน  (Ton Sa-no = name of several plants in the genus Sesbania sp.)  คลองโสน (Khlong Sone = a canal named Sone)
เขดา (Ka-dao = hot or heat)  เขดา (Khe-da = ?? unlisted meaning in Thai dictionary, or perhaps it might refer to the Malaysian state of Kedah, formerly a state under Siam over a century ago)
ยี่โหง (Yi-ngow = a Chinese name)  โหง  (Hong = (adj.) unnatural death; quick (northwestern Thai))
ดงแขม (Dong-Kaem = a dense area of a water plant) เมืองแขม (Muang-Kamae = Khmer city, now spelled เมืองขแมร์ or เมืองเขมร )
คุมเหง (Kum-heng = subdue)  เหง  (Nge = a Chinese name)
หวงแหน  (Huang-haen = selfish, unwilling to share)  แหน (Nae = a water plant, )
เพลา (plao = (adj.) lessen stength, lessen effort) vs. เพลา (Pe-la = time)
วันเสว (Wan Sa-wae = (Dhamma sermon) listenning days, 8th night and 14th or 15th night of lunar calendar but unlisted in current Thai dictionary  เสวกา (Se-wa-ka = officials in the court of the King)
พวง (Pa-wong = worry, now often spell as พะวง ) vs. พวง (Puang = a bouquet, a bunch of flowers)
บวงสรวง  (Buang-suang = worship) vs. สรวงเส (Suang-se = pleasantly talk to) It should be noted that now they are the same sound but perhaps they were previously pronounced differently in ancient time? If I would guess according to the rhyme of the poem, the latter word might have been pronounced as 'Sa-ruang-se' in early Bangkok period.
คำแหง (kam-haeng = strong, arrogant, but I think another meaning is brave)  vs. หน้าแหง  (na-ngae = a brave face after a shameful mishap)
ผอบ (porb = ??? unlisted in the (Royal Institute's) Thai dictionary) vs ผอบทอง (pa-ob-thong = a small golden spherical ridged container with a pointed lid, about the size that can fit in a palm, such as for keeping medicine or jewelry)

---
Ref: For the Scientific nomenclature of Thai plants, I looked up from the book:
Smitinand, T.   Thai Plant Names, Revised Edition 2001, published by the Forest Herbarium, Royal Forest Department, Bangkok.
and other Thai dictionaries

last update: Dec 10, 2018

Sunday, September 06, 2015

History of Thai Dictionaries

A brief history of Thai dictionaries
ประวัติย่อ พจนานุกรม ในไทย
Early dictionaries (of Ayutthaya and Early Bangkok period)

The first dictionary in Thailand was prepared by a French priest Rev. Louis Laneau (1664-1689, ~B.E. 2207-2236) during the reign of King Narai the Great, of Ayutthaya Kingdom. It was a French-Thai and Thai-French dictionary in the form of written manuscript using Roman alphabets.

In a famous Thai language textbook and literature จินดามณี (Chindamanee) elegantly penned by พระโหราธิบดี (Phra Horathipati, 'the astrologers' lord') during the reign of King Narai the Great, there was a section named อักษรศัพท์ (vocabulary words) listing about 600 Thai words. (Note: I have not seen the manuscript so I don't know if descriptions on meanings were given for the words or not. If not, as I tend to guess, it might be just a compendium of Thai vocabularies for students to learn to write words or to use as a guide to practice penmanship)

Later dictionaries were produced during Bangkok as the Capital.

A Thai dictionary, also in manuscript form, called คำฤษฎี  (pronounced 'Kam Risadee') was prepared in 1790-1853 (B.E. 2333-2396) during the reigns of King Rama II, III, IV, of Bangkok era by 3 Princes:  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส , สมเด็จกรมพระยาเดชาดิสร , กรมหลวงภูวเนสตนรินทรฤทธิ์ . The dictionary described borrowed Sanskrit (unsorted) words used in Thai literatures at that time.

A bilingual dictionary, English-Thai and Thai-English dictionary, was said to be prepared by an American missionary, Rev. John Taylor Jones (1802-1851). But no evidence of this book remained.

A dictionary was prepared by Rev. J. Caswell and J.H. Chandler, in 1846 (B.E. 2407), as sorted-word manuscript, with spellings used during the reign of King Rama III (which is different from the current ones).

Around that time, Rev.  Jean-Baptiste Pallegoix prepared 2 dictionaries:-
 -  One is a bilingual Latin-Thai dictionary called Dictionarium Thai AD Usum Missions Siamensis (in B.E. 2393). A manuscript is kept at the rare document room at the Thailand National Library in Bangkok.
 -  Another dictionary สัพะ พะจะนะ พาสา ไท or Dictionarium Lingueae Thai was a quadrilingual Thai-Latin-French-English listing. There were some photo-reprints of this book commercially available in some bookstores.

This dictionary was later edited and improved upon by Rev. Jean-Louis Vey and he changed its Thai book title into ศริพจน์ภาษาไทย์ (Saripoj Pasa Thai) although Vey still gave credit to the previous author, Pallegoix. Its English title was Siamese French English dictionary by D.J.B. Pallegoix, which was published in B.E. 2439, and reprinted in B.E. 2542.

Rev. S. G. McFarland compiled the English and Siamese dictionary, and printed in B.E. 2408 in Phetchaburi province, comprising of around 7,500 words.

Improved versions was made by his son, Dr. George Bradley McFarland, and was called a Thai English Dictionary.
Note that Dr. G.B. McFarland was the first senior doctor and faculty member of of Siriraj Hospital (now part of Mahidol University). (G.B. McFarland was born in Phetchaburi, Thailand, so he as a Thai citizen who is also an American). He was later bestowed a government (aristocratic) official title by the King of Thailand as อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม  (Translation of his title: First Class Lord,  The Knowledge Capable One). He was a founder of the Vidhayakom company in Thailand, when he created the first Thai language typewriters and sold them. (I believe he planned the keyboard layout, then order the equipment manufactured in the USA.)

A dictionary published in 1873 was อักขราภิธานศรับท์ (Akrapithansab) or Dictionary of the Siamese Language by Rev. Dan Beach Bradley (1804-1873). It should be noted that Bradley established a printing press at his home, which printed several books at that time.

There is another bilingual Thai-French dictionary: Dictionaire Francais-Siamois by Ven. Marie-Joseph Cuza, which was published in Bangkok in B.E. 2446 (1903)

Ref: Some information used for writing this blog was obtained from a Thai text on ประวัติและวิวัฒนาการของพจนานุกรม(ตอนที่ 2) at the Sanamchandra Palace Library's Blog
& other sources

Friday, May 16, 2014

ชื่อตัว Thai first names



Thai people of previous centuries mostly had mono-syllabic (first) names, except for the royalty, of course. This chart below depicting pictures of old monks, all passed-away, with their names clearly show that fact.

The exemplified picture taken from the net (and there are other similar versions) shows how Thais make a pun, using famously revered monks' names and their faces as words of blessing.


(First row: Be, Rich, Increase, Heap)
(Second row: Stay, Good, Having (Possess), Happy)
(Third row: Silver, Fresh, (silver+fresh constituted a new word to mean cash), Ring, Gold-Coming)

I hope anyone can make sense of the blessing message and its lightly funny aspect.

Before King Rama VI enacted the surname law around a century ago, Thai people did not have family names, but often they used description to distinguish people of identical name from each other, say Mr. A of B village, etc. This is also true for people of northern India during the Buddha's time, as written in the Tipitaka, but you have to know Pali to understand the descriptive meaning, like Mr. X the fatty one, Mrs. Y the mother of Mr. X, etc.

Thai people of my generation, in their fifties or older, have longer first names, but their names don't sound too sophisticated. However, people of newer generation, now in their twenties or younger have a another set of newly minted first names with sophisticated spelling and meanings, often multi-syllabic. We can now guess the age of Thai people from their first names alone without need to see their faces almost with certainty.



Wednesday, May 07, 2014

โลหะผสม

ขออนุญาตคัดลอก(อ้าง)คำพูดของหลวงพ่อเล็ก (พระครูวิลาสกาญจนธรรม วัดท่าขนุน กาญจนบุรี) มาจากเว็บวัดท่าขนุน

" อัลปาก้า ในภาษาไทยต้องเรียกว่า ทองขาว คนจีนเรียก แปะตั๊ง  
แพลทตินัมคือ ทองคำขาว 
รูทีเนียม คือ ทองคำดำ ก็จะมีทองคำ ทองคำขาว ทองคำดำ ทองเหลือง ทองขาว ทองแดง 
ส่วน นาก จัดอยู่ในพวกโลหะผสม มีทองคำปนอยู่ร้อยละ ๓๐"

อ้างอิง เว็บวัดท่าขนุน

เมฆสิทธิ์ คือโลหะผสม(ทำพระเครื่อง) แก่ทอง สีเขียวอมเหลือง
เมฆพัสภร์ หรือ เมฆพัด คือโลหะผสม แก่เงิน (มีเงินปริมาณมาก) สีเขียวอมน้ำเงิน

Friday, April 25, 2014

A table of 5000 most frequent Thai words from Thai National Corpus

I just stumbled into this.

Thai National Corpus (TNC) has a spreadsheet file listing 5000 most frequent 'Thai' words found from sampled texts, downloadable here.

I noticed that some of those are transcribed words from other languages. Also some are not words, but symbols typical to only Thai language, such as  ' ๆ ' , which is a stylized Thai number 2  ' ๒ ' which is used as a 'say the word twice' symbol, and ' ฯ '  which is a symbol to denote that the word (usually a noun) has been truncated from its full name. Some are just numbers, such as 1 2 3 and their corresponding Thai numbers, listing separately.

Thursday, April 17, 2014

Thai names on Mars

Following are known Thailand 's districts and province / 'city' names used for Mars' small craters, according to Thai Astronomy Society:-

Chatturat from  จัตุรัส จังหวัด ชัยภูมิ (A district in Chiyaphum province)
Kantang from กันตัง จังหวัด ตรัง (A district in Trang province)
Nan from น่าน 
Phon from อ. พล จังหวัด ขอนแก่น (A district in Khon Kaen province)
Tak from จ. ตาก
Thom truncated from อ. นาทม จังหวัด นครพนม (Na Thom, a district in Nakhon Phanom province)
Yala จ. ยะลา

ชื่อไทยบนดาวอังคาร

Based on Matichon's news

Saturday, April 12, 2014

ลูกรัง

ลูกรัง คือ ลูกของ ต้นรัง (Shorea siamensis) นี่เป็นผลไม้
อีกชื่อที่คนอีสานเรียกคือ จิก ลูกของต้นจิก แต่ก็รูปร่างคล้ายๆ ลูกเต็ง ลูกของต้นเต็ง

ต้นเดือน เมษายน ผมไปอีสาน วัดปราสาทดิน ที่ อ. ภักดีชุมพล จ. ชัยภูมิ ลูกรังร่วงมาเต็มลานวัด ต้องกวาดขนเอาไปทิ้ง เลยเก็บมาดูเล่นสักนิดหน่อย (แต่แรกก็ลังเลเหมือนกัน แต่คิดดูดีๆ แล้วว่าเป็นของที่เขาทิ้งเป็นขยะไป ไม่มีมูลค่า คงไม่ต้องติดหนี้สงฆ์) ก่อนหน้านั้นก็ทดสอบโยนเล่น มันมีลักษณะแปลกดี เพราะ ผลมีปีก ๕ ชิ้น ขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน แต่สมมาตรแบบ radial symmetry

ต้นเต็ง และต้นรังออกดอกเต็มต้น เป็นพันๆ ดอก เวลาหลุดตกลงมา ปีกก็พยุงไว้ ผลก็หมุนควง ร่อนลงมาช้าๆ คล้ายเฮลิคอปเตอร์ ผลเมื่อกระทบพื้นก็ไม่แตกเสียหาย และถ้ามีลม ก็คงพัดลอยไปได้ไกลๆ เป็นวิธีการกระจายพันธุ์ในป่าได้เป็นอย่างดี

ผมเก็บมาแค่ ๕ เมล็ด จาก ๓ ต้น ดูเหมือนมีต้นหนึ่งลักษณะการออกดอกต่างไปเล็กน้อย ดอกดกกว่า  แต่ผมเดาเอาว่า อย่างน้อยมันก็คง genus เดียวกัน

ผมเก็บมากรุงเทพฯ อยู่บนโต๊ะทำงาน ได้ ๗ วัน มันก็งอก ก็เลยตัดสินใจเพาะลงกระถางเสียเลย ถ้ารอด งอกดีก็จะนำไปปลูกทางเหนือ เพิ่ม genetic diversity ให้ทางภาคเหนือเสียหน่อย

ถ่ายรูปเมล็ดรังที่งอกไว้เป็นหลักฐาน



winged fruits of Shorea sp.

เพาะลงกระถาง ราวสามอาทิตย์ต่อมา งอกเป็นต้นมาต้นหนึ่ง ถ่ายวันนี้เอง




Ref: Thai wikipedia on this plant
Thai Botanical Garden on Shorea siamensis


Wednesday, March 05, 2014

น้ำลอยดอกมะลิ


น้ำลอยดอกมะลิ  jasmine-floated (drinking) water

ช่วงนี้เป็นต้นฤดูร้อน ต้นไม้ต่างๆ ก็ออกดอก คงเตรียมผสมเกสรเพื่อเตรียมไว้สำหรับฤดูฝนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ช่วงหลายสัปดาห์มานี้ มะลิที่บ้านผมออกดอกเต็มต้น แม้เหลือเพียงต้นเดียวก็เก็บตอกตูมได้วันละถ้วยขนาดย่อม ผมเก็บเอาไปใส่ถ้วยบูชาพระที่โต๊ะหมู่บ่อยๆ วันนี้ แบ่งเอามาใช้เองเล็กน้อย ล้างน้ำสุกเสียหน่อย เอาฝุ่นออก แล้วก็เอาไปใส่ในขวดน้ำดื่มในตู้เย็น เพื่อทำน้ำลอยดอกมะลิ ดอกไม้ของเราปลูกเองในบ้าน ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลงอะไรทั้งสิ้น แต่สมัยนี้ถ้าจะไปซื้อที่ตลาดข้างนอก ก็ไว้ใจไม่ได้

จำได้ว่า สมัยเด็กๆ แม่เคยเอาน้ำลอยดอกมะลิใส่ขันมาให้ดื่ม ใส่น้ำแข็งมานิดหน่อย หอมเย็นดี นอกจากนี้ เวลาเราเอาน้ำตาลทรายมาทำน้ำเชื่อม ทำเสร็จแล้วก็ต้องเอาดอกมะลิไปลอยเสียหน่อย เพื่อให้ได้กลิ่นหอมสดชื่น คนสมัยนี้คงไม่เคยรับประทาน น้ำเชื่อมลอยดอกมะลิ (jasmine-floated syrup) เพราะน้ำเชื่อมบรรจุขวดจากโรงงานไม่มีกลิ่นหอมเอาเสียเลย

นอกจากนี้สมัยเด็กๆ เรายังเคยร้อย พวงมาลัย (flower garland) ที่บ้านด้วย เด็กผู้ชายสมัยก่อนถึงจะร้อยพวงมาลัยไม่สวย แต่ก็ร้อยเป็นนะ และก็สมัยผมเรียนมัธยมที่สวนกุหลาบวิทยาลัย พวกเราก็ทำ พานพุ่มดอกไม้ไหว้ครู (mosaic flower art arranged on a lotus-shaped surface template for worshipping) ด้วย ส่วนมากใช้ดอกบานไม่รู้โรย แต่ว่าก็ต้องใช้ดอกอื่นๆ ด้วย เช่น มะลิ ดอกรัก กุหลาบ ฯลฯ

วันนี้เก็บคำประสมได้แยะเลย จากมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับมะลินี่
คำแปลอังกฤษของผมคิดใส่ไว้เองแหละ

ปัญญาอ่อน

ปัญญาอ่อน

มีข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการเลิกใช้คำว่า ปัญญาอ่อน แล้ว หลังจาก มีมูลนิธิเรนโบว์ (สังเกตว่าชื่อเป็นฝรั่ง) รณรงค์ให้เลิกใช้

ผมออกจะเห็นต่างไปว่า คำนั้นก็เป็นเพียงคำคำหนึ่งเท่านั้น ที่่ไทยเราใช้กันมานานแล้ว เพียงแต่ว่า สังคมสมัยนี้ไปให้ค่ามันในเชิงลบ ในบางบริบทไปใช้ในทางบริภาษคนอื่นที่ไม่มีปัญญาคิด ทั้งๆ ที่โดยเนื้อแท้แล้วคำนี้ไม่ได้ให้คุณให้โทษกับใคร แล้วถึงกับจะยกเลิกคำนั้นไปเลยหรือ (ไม่ทราบว่านักการเมืองคนไหนโดนด่าหรือเปล่า)

คนไทยที่ไปบ้าจี้ตามฝรั่งนั้นก็ควรจะต้องโดนตำหนิว่า "ปัญญาอ่อน" นั่นแหละ เพราะไปดัดจริตตามอเมริกัน

ผมไม่รู้ว่าเขาจะไปให้ใช้คำว่าอะไร เดาว่า อาจจะเป็นคำยาวๆ ว่า "โรคพิการทางสมอง" (๕ พยางค์) ก็ได้ เทียบกับคำเดิม ๓ พยางค์ หรือถ้าจะเทียบกับคำเดิมจริงๆ ว่า "โง่" ก็แค่พยางค์เดียว

แต่ผมพนันได้เลยว่า ไม่กี่ปีจากนี้ไป ความหมายลบมันก็จะเข้ามาในคำใหม่นี้อีกนั่นแหละ





Tuesday, March 04, 2014

Dictionary of Thai - Tai-Yai


I just stumbled upon existence of this reference book by chance while cruising on the web. Here.
Ordering by mail is possible. Even if you can't read Thai texts, you can read still read the phone numbers to make an inquiry from that Thai web page.

The Thai - Tai-Yai Dictionary has been published since 2010 (B.E. 2552), commemorating the 600 anniversary of King Tilokarach (of Lanna Kingdom, whose capital was Chiang Mai) and 85 years of Rajabhat University at Chiang Mai. Compiled by many experts, it took over 10 years to finish it, and published by RUCM's Language Institute. Price for the book is 500 Baht.

I just noted down that I am interested in buying a copy. Perhaps next time, when I travel to Chiang Mai visit near Mae Rim, I 'll stop by at Rajabhat University at Chiang Mai to buy it and 'save' 100 Baht of mailing cost.
(Now I am rethinking since I am not sure if that will really 'save' money or 'spend' extra money on the fuel driving that far from my new northern home.)

Thursday, January 23, 2014

ไม้ลื่น

ไม้ลื่น = สไลเดอร์ slider (คำนาม)
  ความหมายต่างไปจากคำว่า ไม้ลื่นๆ ซึ่งอันนั้นคงเป็น slippery wood

ผมกำลังอ่านหนังสือที่เขียนโดยนักเขียนรุ่นหนุ่มคนหนึ่ง ในเรื่องเขาใช้คำว่า สไลเดอร์ ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ได้ใช้คำว่าไม้ลื่น
หรือว่าคนรุ่นใหม่บางส่วนไม่ค่อยรู้จักคำนี้ก็ไม่ทราบ ก็เลยต้องมาเก็บคำนี้ไว้หน่อย แต่ถ้าเป็นคนรุ่นผม ตั้งแต่เป็นเด็กมา ก็ใช้คำนี้ เพราะที่โรงเรียนมักมีไม้ลื่นให้เล่นกันทั้งนั้น ความจริงคำนี้ก็มีในพจนานุกรมไทยของราชบัณฑิตสถานมีนะ แต่ฉบับของมติชนไม่มีคำนี้




Wednesday, January 08, 2014

ทำไมสื่อมวลชน และคนไทยบางคนชอบใช้ศัพท์ฝรั่งปนไทย ?


ศาสตราจารย์เยอรมัน ผู้ก่อตั้งสมาคมภาษาเยอรมัน ออกมาบ่นกับหนังสือพิมพ์ว่า คนเยอรมันทำไมไม่เลิกนำมาภาษาอังกฤษมาใช้แทนคำในภาษาเยอรมันเสียที (Anglicization of German / Denglish)
ตามข่าวนี้

หลายปีก่อน ก็ออกมาทีหนึ่งแล้ว ตอนนั้นเรียกกันว่า Deutschlich

เขาบ่นว่า คำสำหรับบางความหมาย เช่น ไฮไลท์ มีศัพท์ภาษาเยอรมันตั้งแยะ แต่พวกสื่อและคนมักไม่ใช้ ไปใช้ภาษาอังกฤษคำเดียว ดูเหมือนว่า การใช้คำภาษาอังกฤษทำให้ฟังดูเหมือนกับว่าเป็นคนมีรสนิยม อะไรแบบนั้น

ผมมานึกถึงภาษาไทย ผมไม่ยักเห็นมีนักภาษาไทยคนไหนออกมาโวยวายกันบ้าง


นี่ว่ากันเฉพาะแค่ศัพท์นะ ยังไม่นับรูปประโยค ไวยากรณ์ ก็กลายเป็นสำนวนภาษาอังกฤษแบบอเมริกันไปมากแล้ว

อีกไม่นาน เมื่อคนรุ่นใหม่และคนในชนบทโดนกรอกหูด้วยสำนวนแบบนี้ของคนส่วนน้อยมากขึ้นทุกวันๆ ภาษาไทยก็จะ ภาษาไทยกลายเป็น ทิงลิช Thinglish หรือ ไทยลิช Thailish

แบบเดียวกับเด็กชาวเขาบนดอย ผมไปเจอมา รุ่นนี้พูดไทยแบบกรุงเทพฯ ชัดแจ๋ว ไม่มีสำเนียงแปร่งๆ ของคนชายแดน หรือผู้อพยพอีกแล้ว 

หรือแค่ไปเชียงใหม่ก็ไม่เจอเด็กหนุ่มสาวอู้กำเมืองกันเลย เสน่ห์เมืองเหนือหายไปหมด


Monday, December 16, 2013

วา (โบราณ)


ระยะทาง ๑ วา ยาวเท่าไรกันแน่ ?

ใครๆ ก็รู้ว่า ปัจจุบันเราถือว่า ๑ วา ยาวเท่ากับ ๒ เมตร
วา เป็นมาตราวัดระยะไทย แต่ เมตร (meter) เป็นมาตราเมตริก ถ้าเราใส่ตัวเลขละเอียดลงไปเป็น
๑.๐๐ วา เท่ากับ ๒.๐๐ เมตร ตอนนี้บางคนอาจจะเริ่มสังเกตว่า เอ๊ะเป็นไปได้อย่างไร โอกาสที่การวัดระยะสองหน่วยจะเท่ากันเป๊ะโดยบังเอิญเป็นไม่มี  ในสมัยก่อนนั้น ถ้าไม่มีอะไรเป็นไม้บรรทัดมาตราฐานไว้เทียบ คงไม่เท่ากันอย่างนั้น และก็เท่าที่รู้ ไทยโบราณสมัยอยุธยาหรือสุโขทัยเราไม่เคยมีหน่วยงานชั่งตวงวัด ถ้ามีก็ไม่น่าเท่ากันกับระบบเมตริก

คำเฉลยก็คือ การเท่ากันนี้ เป็นไปโดยนิยามตามกฎหมาย หมายความว่าเป็นผลจาก พระราชบัญญัติชั่งตวงวัด กำหนดไว้ให้เท่าตามนั้น ซึ่งดูเหมือนออกมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ที่เทียบมาตราส่วนไทยเข้ากับระบบเมตริก
ถ้าอย่างนั้นก็ถามว่า ก่อนสมัย ร. ๖ หรืออาจจะพูดไปถึงว่า สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ระยะทาง ๑ วาเรายาวเท่าไร ?

คำตอบหาได้อย่างน้อย ๒ ทาง เท่าที่ผมรู้
๑  คำไทยโบราณ มีคำกล่าวโบราณว่า “ร่างกายคน กว้างศอก ยาววา หนาคืบ” เราอาจได้ยินคำกล่าวนี้เวลาพระเทศน์ ระยะทาง ๑ วาก็คือ ความสูงของคนนั่นเอง ถามว่า คนสูงเท่าไร ดูเหมือนว่าคนไทยโบราณที่เป็นนักรบจะมีร่างกายสูงพอสมควร สมมุติว่าสูงได้เต็มที่ ๑.๘ เมตร เราอาจตั้งสมมุติฐานได้ว่า ระยะทาง ๑ วา ของโบราณคือ ๑.๘ เมตร
๒ เทียบระยะจากของจริง  จำได้เลาๆ มีเอกสารบอกขนาดความกว้างยาวของกำแพงเมืองสุโขทัยเอาไว้ มีนักโบราณคดีไปวัดจริงๆ ปรากฎว่าเขาพบว่า ระยะทาง ๑ วาในสมัยสุโขทัยนั้น เท่ากับระยะประมาณ ๑.๘ เมตร

ก็ได้ข้อสรุปว่า สมัยโบราณนั้น ๑ วา ของไทย เท่ากับ ๑.๘ เมตร

อันนี้มันก็จะมีผลไปกับระยะทางอื่นอีก เช่น ระยะทาง ๑ คาวุต (๑๐๐ เส้น) ซึ่งเท่ากบ ๒๐๐๐ วา ก็จะเป็น ๓๖๐๐ เมตร โดยประมาณ (แทนที่จะเป็น ๔๐๐๐ เมตร อย่างที่บางคนเข้าใจผิด)
๑ โยชน์ ที่เราเคยเรียนกันมาในสมัยโรงเรียนว่า ๔๐๐ เส้น (๔ คาวุต) ถ้าเทียบกับ วา แบบโบราณ จะเท่ากับ ๑๔.๔ ก.ม. (ไม่ใช่ ๑๖ ก.ม.)
ส่วนระยะทาง มาตราส่วนอื่นๆ ก็ต้องปรับตามนี้

Thai traditional unit of measurement, Wa, still used in land measurements, has been defined by a law for about a hundred years ago as, 1.0 Wa equal to 2.0 Meter. Based on archeological and linguistic evidences, it was actually 1.8 meter, esp. in pre-Bangkok era. Other ancient measurement units also scaled to this, which is different from when one mistook as 1 ancient Wa was 2.0 meter, which is not true. 
Therefore, when interpreting very old manuscript, one should take this into consideration.


Wednesday, December 11, 2013

ป้ายห้ามสูบบุหรี่ น่ารักๆ

เมื่อวานนี้ไปเจอโดยบังเอิญ ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ภาษาล้านนา ที่ปั๊มบางจากแถว ห้างฉัตร ลำปาง
เขาเขียนว่า "สูบมูลี ตี้นี่ โดนด่าเน้อ"
แปลเป็นไทยกลางได้ว่า "สูบบุหรี่ ที่นี่ โดนด่านะ"
ผมว่าถ้าอ่านออกเสียงมาเป็นสำเนียงคนเหนือแล้วน่ารักดี แถมฟอนต์ก็ใช้แบบที่ดูคล้ายอักษรโบราณหน่อย
ผมว่า น่ารักดีกว่าป้ายที่เห็นในกรุงเทพ ดูแข็งๆ ไร้อารมณ์


นึกได้ว่า เมื่อสามปีก่อน ตอนไปทริปเมืองลาว เคยถ่ายรูป ป้ายห้ามสูบบุหรี่ที่เมืองลาวมาด้วย ถ่ายมาจากร้านอาหารในโรงแรมที่เมือง วังเวียง เป็นภาษาลาว ก็น่ารักดี
ลองเทียบกันดู
ป้ายแรกเขาเขียนว่า "ขอบใจที่ท่านบ่สูบยา" ก็น่ารักดีเขาใช้คำตรงๆ ว่า สูบยา แทน สูบบุหรี่ (สมัยราวสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเราก็เคยใช้คำนี้ ยุคนั้น ก่อนผมเกิด เราเคยเรียกบุหรี่ว่า ยากะแรต)
และก็ "เขตห้ามสูบยา"
ป้ายหลังนี้ค่อยข้างจะซีเรียสหน่อย



Note: I found cute 'No smoking' signs in northern Thai (Thai Lanna) dialect wordings (using central Thai scripts) compare to those in Lao scripts which I found in Laos earlier.




Sunday, November 24, 2013

สันดาป ไม่เท่ากับ เมตะบอลิสซึม


"Combustion" is not equal to "metabolism".

ซื้อหนังสือ โยงใยที่ซ่อนเร้น มาตั้งนานแล้ว เพิ่งมีโอกาสอ่าน
เล่มนี้แปลจาก The Hidden Connections ของ Fritjof Capra

เพิ่งอ่านไปบทเดียว "บทที่ ๑ ธรรมชาติของชีวิต" ผมก็รู้สึกทนไม่ได้กับการแปลเป็นไทยของคณะผู้แปล มีคำหนึ่งที่ผมยอมรับไม่ได้ คือการใช้คำว่า สันดาป แทนคำในภาษาอังกฤษว่า metabolism อย่างผิดๆ ผมซึ่งเรียนและเคยสอน ชีวเคมี มา ความรู้สึกยั๊วะอย่างไม่เคยมีมาก่อนผุดขึ้นมาให้เห็น ต้องเอาดินสอ 6B มาขีดคำนี้ออกหมดจากทั้งบท เพราะทนไม่ได้อย่างแรง

สันดาป มาจากภาษาบาลี สนฺตาป แปลว่าความร้อน ความบีบคั้น หนังสือวิทยาศาสตร์ไทยสมัยผมเรืยนชั้นประถมหรือมัธยม จะเคยมีคำนี้ ใช้แทนคำว่า combustion คือ การเผาไหม้ ซึ่งก็ตรงไปตรงมา

คำนี้ในไทยก็มีใช้หลายแบบ เช่น เมตะบอลิสซึม เมตะบอลิสม์ เมตาบอลิสซึม เมตะบอลิซึม อะไรทำนองนี้
ส่วนใน วิกิพีเดีย ใช้ เมแทบอลิซึม ผมว่าก็ดูสะกดดัดจริตดี ยังไม่ได้เช็คว่า ราชบัณฑิตยสถานให้ใช้อย่างไร

ไปเช็คดูที่ Longdo online dictionary จาก คลังศัพท์ไทย ของ สวทช. เขาแปลว่า การเผาผลาญ แต่ผมต้องขอค้าน ผิดอีก

metabolism ควรแปลว่า การเปลี่ยนแปลงเชิงชีวเคมีภายในเซลล์ 
ถ้าจะว่าไป ปฏิกริยาเคมีหลายหมื่นปฏิกริยา โดยรวมนั่นแหละคือ เมตะบอลิสซึม ปฏิกริยาชีวเคมีต่างๆ นั้น มีหลายแบบ แบบหนึ่งเป็นปฏิกริยา ออกซิเดชั่น รีดักชั่น (oxidation-reduction reactions) เป็นเพียงแบบหนึ่งเท่านั้น ที่มีการเปลี่ยนระดับพลังงานของโมเลกุล และอาจมีการให้พลังงานออกมา และไปเก็บอยู่ในรูปของสารเช่น ATP หรือ creatine phosphate เป็นต้น ปฏิกิริยาแบบอื่นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของสารอย่างเด่นชัด อย่างน้อย oxidation state ของอะตอมในสารนั้นๆ ก็ไม่เปลี่ยนแน่ๆ

ถ้าคนไทยไม่คุ้นกับคำพื้นฐานนี้ เห็นทีจะก้าวไม่ทันกับเทคโนโลยีชีวภาพ