Friday, May 16, 2014

ชื่อตัว Thai first names



Thai people of previous centuries mostly had mono-syllabic (first) names, except for the royalty, of course. This chart below depicting pictures of old monks, all passed-away, with their names clearly show that fact.

The exemplified picture taken from the net (and there are other similar versions) shows how Thais make a pun, using famously revered monks' names and their faces as words of blessing.


(First row: Be, Rich, Increase, Heap)
(Second row: Stay, Good, Having (Possess), Happy)
(Third row: Silver, Fresh, (silver+fresh constituted a new word to mean cash), Ring, Gold-Coming)

I hope anyone can make sense of the blessing message and its lightly funny aspect.

Before King Rama VI enacted the surname law around a century ago, Thai people did not have family names, but often they used description to distinguish people of identical name from each other, say Mr. A of B village, etc. This is also true for people of northern India during the Buddha's time, as written in the Tipitaka, but you have to know Pali to understand the descriptive meaning, like Mr. X the fatty one, Mrs. Y the mother of Mr. X, etc.

Thai people of my generation, in their fifties or older, have longer first names, but their names don't sound too sophisticated. However, people of newer generation, now in their twenties or younger have a another set of newly minted first names with sophisticated spelling and meanings, often multi-syllabic. We can now guess the age of Thai people from their first names alone without need to see their faces almost with certainty.



Wednesday, May 07, 2014

โลหะผสม

ขออนุญาตคัดลอก(อ้าง)คำพูดของหลวงพ่อเล็ก (พระครูวิลาสกาญจนธรรม วัดท่าขนุน กาญจนบุรี) มาจากเว็บวัดท่าขนุน

" อัลปาก้า ในภาษาไทยต้องเรียกว่า ทองขาว คนจีนเรียก แปะตั๊ง  
แพลทตินัมคือ ทองคำขาว 
รูทีเนียม คือ ทองคำดำ ก็จะมีทองคำ ทองคำขาว ทองคำดำ ทองเหลือง ทองขาว ทองแดง 
ส่วน นาก จัดอยู่ในพวกโลหะผสม มีทองคำปนอยู่ร้อยละ ๓๐"

อ้างอิง เว็บวัดท่าขนุน

เมฆสิทธิ์ คือโลหะผสม(ทำพระเครื่อง) แก่ทอง สีเขียวอมเหลือง
เมฆพัสภร์ หรือ เมฆพัด คือโลหะผสม แก่เงิน (มีเงินปริมาณมาก) สีเขียวอมน้ำเงิน

Friday, April 25, 2014

A table of 5000 most frequent Thai words from Thai National Corpus

I just stumbled into this.

Thai National Corpus (TNC) has a spreadsheet file listing 5000 most frequent 'Thai' words found from sampled texts, downloadable here.

I noticed that some of those are transcribed words from other languages. Also some are not words, but symbols typical to only Thai language, such as  ' ๆ ' , which is a stylized Thai number 2  ' ๒ ' which is used as a 'say the word twice' symbol, and ' ฯ '  which is a symbol to denote that the word (usually a noun) has been truncated from its full name. Some are just numbers, such as 1 2 3 and their corresponding Thai numbers, listing separately.

Thursday, April 17, 2014

Thai names on Mars

Following are known Thailand 's districts and province / 'city' names used for Mars' small craters, according to Thai Astronomy Society:-

Chatturat from  จัตุรัส จังหวัด ชัยภูมิ (A district in Chiyaphum province)
Kantang from กันตัง จังหวัด ตรัง (A district in Trang province)
Nan from น่าน 
Phon from อ. พล จังหวัด ขอนแก่น (A district in Khon Kaen province)
Tak from จ. ตาก
Thom truncated from อ. นาทม จังหวัด นครพนม (Na Thom, a district in Nakhon Phanom province)
Yala จ. ยะลา

ชื่อไทยบนดาวอังคาร

Based on Matichon's news

Saturday, April 12, 2014

ลูกรัง

ลูกรัง คือ ลูกของ ต้นรัง (Shorea siamensis) นี่เป็นผลไม้
อีกชื่อที่คนอีสานเรียกคือ จิก ลูกของต้นจิก แต่ก็รูปร่างคล้ายๆ ลูกเต็ง ลูกของต้นเต็ง

ต้นเดือน เมษายน ผมไปอีสาน วัดปราสาทดิน ที่ อ. ภักดีชุมพล จ. ชัยภูมิ ลูกรังร่วงมาเต็มลานวัด ต้องกวาดขนเอาไปทิ้ง เลยเก็บมาดูเล่นสักนิดหน่อย (แต่แรกก็ลังเลเหมือนกัน แต่คิดดูดีๆ แล้วว่าเป็นของที่เขาทิ้งเป็นขยะไป ไม่มีมูลค่า คงไม่ต้องติดหนี้สงฆ์) ก่อนหน้านั้นก็ทดสอบโยนเล่น มันมีลักษณะแปลกดี เพราะ ผลมีปีก ๕ ชิ้น ขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน แต่สมมาตรแบบ radial symmetry

ต้นเต็ง และต้นรังออกดอกเต็มต้น เป็นพันๆ ดอก เวลาหลุดตกลงมา ปีกก็พยุงไว้ ผลก็หมุนควง ร่อนลงมาช้าๆ คล้ายเฮลิคอปเตอร์ ผลเมื่อกระทบพื้นก็ไม่แตกเสียหาย และถ้ามีลม ก็คงพัดลอยไปได้ไกลๆ เป็นวิธีการกระจายพันธุ์ในป่าได้เป็นอย่างดี

ผมเก็บมาแค่ ๕ เมล็ด จาก ๓ ต้น ดูเหมือนมีต้นหนึ่งลักษณะการออกดอกต่างไปเล็กน้อย ดอกดกกว่า  แต่ผมเดาเอาว่า อย่างน้อยมันก็คง genus เดียวกัน

ผมเก็บมากรุงเทพฯ อยู่บนโต๊ะทำงาน ได้ ๗ วัน มันก็งอก ก็เลยตัดสินใจเพาะลงกระถางเสียเลย ถ้ารอด งอกดีก็จะนำไปปลูกทางเหนือ เพิ่ม genetic diversity ให้ทางภาคเหนือเสียหน่อย

ถ่ายรูปเมล็ดรังที่งอกไว้เป็นหลักฐาน



winged fruits of Shorea sp.

เพาะลงกระถาง ราวสามอาทิตย์ต่อมา งอกเป็นต้นมาต้นหนึ่ง ถ่ายวันนี้เอง




Ref: Thai wikipedia on this plant
Thai Botanical Garden on Shorea siamensis


Wednesday, March 05, 2014

น้ำลอยดอกมะลิ


น้ำลอยดอกมะลิ  jasmine-floated (drinking) water

ช่วงนี้เป็นต้นฤดูร้อน ต้นไม้ต่างๆ ก็ออกดอก คงเตรียมผสมเกสรเพื่อเตรียมไว้สำหรับฤดูฝนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ช่วงหลายสัปดาห์มานี้ มะลิที่บ้านผมออกดอกเต็มต้น แม้เหลือเพียงต้นเดียวก็เก็บตอกตูมได้วันละถ้วยขนาดย่อม ผมเก็บเอาไปใส่ถ้วยบูชาพระที่โต๊ะหมู่บ่อยๆ วันนี้ แบ่งเอามาใช้เองเล็กน้อย ล้างน้ำสุกเสียหน่อย เอาฝุ่นออก แล้วก็เอาไปใส่ในขวดน้ำดื่มในตู้เย็น เพื่อทำน้ำลอยดอกมะลิ ดอกไม้ของเราปลูกเองในบ้าน ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลงอะไรทั้งสิ้น แต่สมัยนี้ถ้าจะไปซื้อที่ตลาดข้างนอก ก็ไว้ใจไม่ได้

จำได้ว่า สมัยเด็กๆ แม่เคยเอาน้ำลอยดอกมะลิใส่ขันมาให้ดื่ม ใส่น้ำแข็งมานิดหน่อย หอมเย็นดี นอกจากนี้ เวลาเราเอาน้ำตาลทรายมาทำน้ำเชื่อม ทำเสร็จแล้วก็ต้องเอาดอกมะลิไปลอยเสียหน่อย เพื่อให้ได้กลิ่นหอมสดชื่น คนสมัยนี้คงไม่เคยรับประทาน น้ำเชื่อมลอยดอกมะลิ (jasmine-floated syrup) เพราะน้ำเชื่อมบรรจุขวดจากโรงงานไม่มีกลิ่นหอมเอาเสียเลย

นอกจากนี้สมัยเด็กๆ เรายังเคยร้อย พวงมาลัย (flower garland) ที่บ้านด้วย เด็กผู้ชายสมัยก่อนถึงจะร้อยพวงมาลัยไม่สวย แต่ก็ร้อยเป็นนะ และก็สมัยผมเรียนมัธยมที่สวนกุหลาบวิทยาลัย พวกเราก็ทำ พานพุ่มดอกไม้ไหว้ครู (mosaic flower art arranged on a lotus-shaped surface template for worshipping) ด้วย ส่วนมากใช้ดอกบานไม่รู้โรย แต่ว่าก็ต้องใช้ดอกอื่นๆ ด้วย เช่น มะลิ ดอกรัก กุหลาบ ฯลฯ

วันนี้เก็บคำประสมได้แยะเลย จากมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับมะลินี่
คำแปลอังกฤษของผมคิดใส่ไว้เองแหละ

ปัญญาอ่อน

ปัญญาอ่อน

มีข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการเลิกใช้คำว่า ปัญญาอ่อน แล้ว หลังจาก มีมูลนิธิเรนโบว์ (สังเกตว่าชื่อเป็นฝรั่ง) รณรงค์ให้เลิกใช้

ผมออกจะเห็นต่างไปว่า คำนั้นก็เป็นเพียงคำคำหนึ่งเท่านั้น ที่่ไทยเราใช้กันมานานแล้ว เพียงแต่ว่า สังคมสมัยนี้ไปให้ค่ามันในเชิงลบ ในบางบริบทไปใช้ในทางบริภาษคนอื่นที่ไม่มีปัญญาคิด ทั้งๆ ที่โดยเนื้อแท้แล้วคำนี้ไม่ได้ให้คุณให้โทษกับใคร แล้วถึงกับจะยกเลิกคำนั้นไปเลยหรือ (ไม่ทราบว่านักการเมืองคนไหนโดนด่าหรือเปล่า)

คนไทยที่ไปบ้าจี้ตามฝรั่งนั้นก็ควรจะต้องโดนตำหนิว่า "ปัญญาอ่อน" นั่นแหละ เพราะไปดัดจริตตามอเมริกัน

ผมไม่รู้ว่าเขาจะไปให้ใช้คำว่าอะไร เดาว่า อาจจะเป็นคำยาวๆ ว่า "โรคพิการทางสมอง" (๕ พยางค์) ก็ได้ เทียบกับคำเดิม ๓ พยางค์ หรือถ้าจะเทียบกับคำเดิมจริงๆ ว่า "โง่" ก็แค่พยางค์เดียว

แต่ผมพนันได้เลยว่า ไม่กี่ปีจากนี้ไป ความหมายลบมันก็จะเข้ามาในคำใหม่นี้อีกนั่นแหละ





Tuesday, March 04, 2014

Dictionary of Thai - Tai-Yai


I just stumbled upon existence of this reference book by chance while cruising on the web. Here.
Ordering by mail is possible. Even if you can't read Thai texts, you can read still read the phone numbers to make an inquiry from that Thai web page.

The Thai - Tai-Yai Dictionary has been published since 2010 (B.E. 2552), commemorating the 600 anniversary of King Tilokarach (of Lanna Kingdom, whose capital was Chiang Mai) and 85 years of Rajabhat University at Chiang Mai. Compiled by many experts, it took over 10 years to finish it, and published by RUCM's Language Institute. Price for the book is 500 Baht.

I just noted down that I am interested in buying a copy. Perhaps next time, when I travel to Chiang Mai visit near Mae Rim, I 'll stop by at Rajabhat University at Chiang Mai to buy it and 'save' 100 Baht of mailing cost.
(Now I am rethinking since I am not sure if that will really 'save' money or 'spend' extra money on the fuel driving that far from my new northern home.)

Thursday, January 23, 2014

ไม้ลื่น

ไม้ลื่น = สไลเดอร์ slider (คำนาม)
  ความหมายต่างไปจากคำว่า ไม้ลื่นๆ ซึ่งอันนั้นคงเป็น slippery wood

ผมกำลังอ่านหนังสือที่เขียนโดยนักเขียนรุ่นหนุ่มคนหนึ่ง ในเรื่องเขาใช้คำว่า สไลเดอร์ ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ได้ใช้คำว่าไม้ลื่น
หรือว่าคนรุ่นใหม่บางส่วนไม่ค่อยรู้จักคำนี้ก็ไม่ทราบ ก็เลยต้องมาเก็บคำนี้ไว้หน่อย แต่ถ้าเป็นคนรุ่นผม ตั้งแต่เป็นเด็กมา ก็ใช้คำนี้ เพราะที่โรงเรียนมักมีไม้ลื่นให้เล่นกันทั้งนั้น ความจริงคำนี้ก็มีในพจนานุกรมไทยของราชบัณฑิตสถานมีนะ แต่ฉบับของมติชนไม่มีคำนี้




Wednesday, January 08, 2014

ทำไมสื่อมวลชน และคนไทยบางคนชอบใช้ศัพท์ฝรั่งปนไทย ?


ศาสตราจารย์เยอรมัน ผู้ก่อตั้งสมาคมภาษาเยอรมัน ออกมาบ่นกับหนังสือพิมพ์ว่า คนเยอรมันทำไมไม่เลิกนำมาภาษาอังกฤษมาใช้แทนคำในภาษาเยอรมันเสียที (Anglicization of German / Denglish)
ตามข่าวนี้

หลายปีก่อน ก็ออกมาทีหนึ่งแล้ว ตอนนั้นเรียกกันว่า Deutschlich

เขาบ่นว่า คำสำหรับบางความหมาย เช่น ไฮไลท์ มีศัพท์ภาษาเยอรมันตั้งแยะ แต่พวกสื่อและคนมักไม่ใช้ ไปใช้ภาษาอังกฤษคำเดียว ดูเหมือนว่า การใช้คำภาษาอังกฤษทำให้ฟังดูเหมือนกับว่าเป็นคนมีรสนิยม อะไรแบบนั้น

ผมมานึกถึงภาษาไทย ผมไม่ยักเห็นมีนักภาษาไทยคนไหนออกมาโวยวายกันบ้าง


นี่ว่ากันเฉพาะแค่ศัพท์นะ ยังไม่นับรูปประโยค ไวยากรณ์ ก็กลายเป็นสำนวนภาษาอังกฤษแบบอเมริกันไปมากแล้ว

อีกไม่นาน เมื่อคนรุ่นใหม่และคนในชนบทโดนกรอกหูด้วยสำนวนแบบนี้ของคนส่วนน้อยมากขึ้นทุกวันๆ ภาษาไทยก็จะ ภาษาไทยกลายเป็น ทิงลิช Thinglish หรือ ไทยลิช Thailish

แบบเดียวกับเด็กชาวเขาบนดอย ผมไปเจอมา รุ่นนี้พูดไทยแบบกรุงเทพฯ ชัดแจ๋ว ไม่มีสำเนียงแปร่งๆ ของคนชายแดน หรือผู้อพยพอีกแล้ว 

หรือแค่ไปเชียงใหม่ก็ไม่เจอเด็กหนุ่มสาวอู้กำเมืองกันเลย เสน่ห์เมืองเหนือหายไปหมด