Monday, December 16, 2013

วา (โบราณ)


ระยะทาง ๑ วา ยาวเท่าไรกันแน่ ?

ใครๆ ก็รู้ว่า ปัจจุบันเราถือว่า ๑ วา ยาวเท่ากับ ๒ เมตร
วา เป็นมาตราวัดระยะไทย แต่ เมตร (meter) เป็นมาตราเมตริก ถ้าเราใส่ตัวเลขละเอียดลงไปเป็น
๑.๐๐ วา เท่ากับ ๒.๐๐ เมตร ตอนนี้บางคนอาจจะเริ่มสังเกตว่า เอ๊ะเป็นไปได้อย่างไร โอกาสที่การวัดระยะสองหน่วยจะเท่ากันเป๊ะโดยบังเอิญเป็นไม่มี  ในสมัยก่อนนั้น ถ้าไม่มีอะไรเป็นไม้บรรทัดมาตราฐานไว้เทียบ คงไม่เท่ากันอย่างนั้น และก็เท่าที่รู้ ไทยโบราณสมัยอยุธยาหรือสุโขทัยเราไม่เคยมีหน่วยงานชั่งตวงวัด ถ้ามีก็ไม่น่าเท่ากันกับระบบเมตริก

คำเฉลยก็คือ การเท่ากันนี้ เป็นไปโดยนิยามตามกฎหมาย หมายความว่าเป็นผลจาก พระราชบัญญัติชั่งตวงวัด กำหนดไว้ให้เท่าตามนั้น ซึ่งดูเหมือนออกมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ที่เทียบมาตราส่วนไทยเข้ากับระบบเมตริก
ถ้าอย่างนั้นก็ถามว่า ก่อนสมัย ร. ๖ หรืออาจจะพูดไปถึงว่า สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ระยะทาง ๑ วาเรายาวเท่าไร ?

คำตอบหาได้อย่างน้อย ๒ ทาง เท่าที่ผมรู้
๑  คำไทยโบราณ มีคำกล่าวโบราณว่า “ร่างกายคน กว้างศอก ยาววา หนาคืบ” เราอาจได้ยินคำกล่าวนี้เวลาพระเทศน์ ระยะทาง ๑ วาก็คือ ความสูงของคนนั่นเอง ถามว่า คนสูงเท่าไร ดูเหมือนว่าคนไทยโบราณที่เป็นนักรบจะมีร่างกายสูงพอสมควร สมมุติว่าสูงได้เต็มที่ ๑.๘ เมตร เราอาจตั้งสมมุติฐานได้ว่า ระยะทาง ๑ วา ของโบราณคือ ๑.๘ เมตร
๒ เทียบระยะจากของจริง  จำได้เลาๆ มีเอกสารบอกขนาดความกว้างยาวของกำแพงเมืองสุโขทัยเอาไว้ มีนักโบราณคดีไปวัดจริงๆ ปรากฎว่าเขาพบว่า ระยะทาง ๑ วาในสมัยสุโขทัยนั้น เท่ากับระยะประมาณ ๑.๘ เมตร

ก็ได้ข้อสรุปว่า สมัยโบราณนั้น ๑ วา ของไทย เท่ากับ ๑.๘ เมตร

อันนี้มันก็จะมีผลไปกับระยะทางอื่นอีก เช่น ระยะทาง ๑ คาวุต (๑๐๐ เส้น) ซึ่งเท่ากบ ๒๐๐๐ วา ก็จะเป็น ๓๖๐๐ เมตร โดยประมาณ (แทนที่จะเป็น ๔๐๐๐ เมตร อย่างที่บางคนเข้าใจผิด)
๑ โยชน์ ที่เราเคยเรียนกันมาในสมัยโรงเรียนว่า ๔๐๐ เส้น (๔ คาวุต) ถ้าเทียบกับ วา แบบโบราณ จะเท่ากับ ๑๔.๔ ก.ม. (ไม่ใช่ ๑๖ ก.ม.)
ส่วนระยะทาง มาตราส่วนอื่นๆ ก็ต้องปรับตามนี้

Thai traditional unit of measurement, Wa, still used in land measurements, has been defined by a law for about a hundred years ago as, 1.0 Wa equal to 2.0 Meter. Based on archeological and linguistic evidences, it was actually 1.8 meter, esp. in pre-Bangkok era. Other ancient measurement units also scaled to this, which is different from when one mistook as 1 ancient Wa was 2.0 meter, which is not true. 
Therefore, when interpreting very old manuscript, one should take this into consideration.


Wednesday, December 11, 2013

ป้ายห้ามสูบบุหรี่ น่ารักๆ

เมื่อวานนี้ไปเจอโดยบังเอิญ ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ภาษาล้านนา ที่ปั๊มบางจากแถว ห้างฉัตร ลำปาง
เขาเขียนว่า "สูบมูลี ตี้นี่ โดนด่าเน้อ"
แปลเป็นไทยกลางได้ว่า "สูบบุหรี่ ที่นี่ โดนด่านะ"
ผมว่าถ้าอ่านออกเสียงมาเป็นสำเนียงคนเหนือแล้วน่ารักดี แถมฟอนต์ก็ใช้แบบที่ดูคล้ายอักษรโบราณหน่อย
ผมว่า น่ารักดีกว่าป้ายที่เห็นในกรุงเทพ ดูแข็งๆ ไร้อารมณ์


นึกได้ว่า เมื่อสามปีก่อน ตอนไปทริปเมืองลาว เคยถ่ายรูป ป้ายห้ามสูบบุหรี่ที่เมืองลาวมาด้วย ถ่ายมาจากร้านอาหารในโรงแรมที่เมือง วังเวียง เป็นภาษาลาว ก็น่ารักดี
ลองเทียบกันดู
ป้ายแรกเขาเขียนว่า "ขอบใจที่ท่านบ่สูบยา" ก็น่ารักดีเขาใช้คำตรงๆ ว่า สูบยา แทน สูบบุหรี่ (สมัยราวสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเราก็เคยใช้คำนี้ ยุคนั้น ก่อนผมเกิด เราเคยเรียกบุหรี่ว่า ยากะแรต)
และก็ "เขตห้ามสูบยา"
ป้ายหลังนี้ค่อยข้างจะซีเรียสหน่อย



Note: I found cute 'No smoking' signs in northern Thai (Thai Lanna) dialect wordings (using central Thai scripts) compare to those in Lao scripts which I found in Laos earlier.




Sunday, November 24, 2013

สันดาป ไม่เท่ากับ เมตะบอลิสซึม


"Combustion" is not equal to "metabolism".

ซื้อหนังสือ โยงใยที่ซ่อนเร้น มาตั้งนานแล้ว เพิ่งมีโอกาสอ่าน
เล่มนี้แปลจาก The Hidden Connections ของ Fritjof Capra

เพิ่งอ่านไปบทเดียว "บทที่ ๑ ธรรมชาติของชีวิต" ผมก็รู้สึกทนไม่ได้กับการแปลเป็นไทยของคณะผู้แปล มีคำหนึ่งที่ผมยอมรับไม่ได้ คือการใช้คำว่า สันดาป แทนคำในภาษาอังกฤษว่า metabolism อย่างผิดๆ ผมซึ่งเรียนและเคยสอน ชีวเคมี มา ความรู้สึกยั๊วะอย่างไม่เคยมีมาก่อนผุดขึ้นมาให้เห็น ต้องเอาดินสอ 6B มาขีดคำนี้ออกหมดจากทั้งบท เพราะทนไม่ได้อย่างแรง

สันดาป มาจากภาษาบาลี สนฺตาป แปลว่าความร้อน ความบีบคั้น หนังสือวิทยาศาสตร์ไทยสมัยผมเรืยนชั้นประถมหรือมัธยม จะเคยมีคำนี้ ใช้แทนคำว่า combustion คือ การเผาไหม้ ซึ่งก็ตรงไปตรงมา

คำนี้ในไทยก็มีใช้หลายแบบ เช่น เมตะบอลิสซึม เมตะบอลิสม์ เมตาบอลิสซึม เมตะบอลิซึม อะไรทำนองนี้
ส่วนใน วิกิพีเดีย ใช้ เมแทบอลิซึม ผมว่าก็ดูสะกดดัดจริตดี ยังไม่ได้เช็คว่า ราชบัณฑิตยสถานให้ใช้อย่างไร

ไปเช็คดูที่ Longdo online dictionary จาก คลังศัพท์ไทย ของ สวทช. เขาแปลว่า การเผาผลาญ แต่ผมต้องขอค้าน ผิดอีก

metabolism ควรแปลว่า การเปลี่ยนแปลงเชิงชีวเคมีภายในเซลล์ 
ถ้าจะว่าไป ปฏิกริยาเคมีหลายหมื่นปฏิกริยา โดยรวมนั่นแหละคือ เมตะบอลิสซึม ปฏิกริยาชีวเคมีต่างๆ นั้น มีหลายแบบ แบบหนึ่งเป็นปฏิกริยา ออกซิเดชั่น รีดักชั่น (oxidation-reduction reactions) เป็นเพียงแบบหนึ่งเท่านั้น ที่มีการเปลี่ยนระดับพลังงานของโมเลกุล และอาจมีการให้พลังงานออกมา และไปเก็บอยู่ในรูปของสารเช่น ATP หรือ creatine phosphate เป็นต้น ปฏิกิริยาแบบอื่นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของสารอย่างเด่นชัด อย่างน้อย oxidation state ของอะตอมในสารนั้นๆ ก็ไม่เปลี่ยนแน่ๆ

ถ้าคนไทยไม่คุ้นกับคำพื้นฐานนี้ เห็นทีจะก้าวไม่ทันกับเทคโนโลยีชีวภาพ

Wednesday, November 20, 2013

ปัญหาการใช้ภาษาไทยของผู้ออกสื่อโทรทัศน์


เจอข่าวนี้โดยบังเอิญ อ่านรายละเอียด ที่นี่

วันนี้ ๒๐ พ.ย. ๒๕๕๖ สถาบันภาษาไทยสิรินธร จัดแถลงข่าวโครงการวิจัย "การใช้ภาษาไทยในข่าวโทรทัศน์ : แนวทางปรับสู่ภาษามาตราฐาน"

สรุปได้ว่า จะมีการวิจัยช่วงต้นปี ๒๕๕๗ โดยเชิญชวนผู้อ่านข่าวโทรทัศน์และผู้รักภาษาไทยมาร่วมโครงการ

ผมขอแสดงความยินดีกับนักภาษาไทยที่ริเริ่มทำโครงการนี้ และขอขอบคุณ ในฐานะคนไทยคนหนึ่งซึ่งรักภาษาไทย

Wednesday, October 30, 2013

Lanna and Esan adage on changing human age

I came a cross an old printed Northern Thai (Lanna) adage posted on a house in Phrae province. Here are the words (in northern Thai dialect / spelling) and my own English translation.

ผมไปเจอภาพถ่ายเอกสารที่ บ้านประทับใจ ที่จังหวัดแพร่ เป็นภาษิตภาษาล้านนา เลยจดมา แล้วแปลไว้เองที่นี่

สังขารมนุษย์ (Nature of) Human bodies

สิบปี๋ อาบน้ำ บ่หนาว Ten years old, take a bath with cold water without shivering
ซาวปี๋ แอ่วสาว บ่ก่าย Twenty years old, visit girls without retreating
สามสิบปี๋ บ่หน่าย สังขาร Thirty years old, don't feel tired of (other people's) bodies
สี่สิบปี๋ เยี๊ยะการ เหมือนฟ้าผ่า Forty years old, doing works like thunder
ห้าสิบปี๋ สาวน้อยด่า บ่เจ็บใจ๋ Fifty years old, got bad-mouth by girls without being hurt
หกสิบปี๋ ไอเหมือน ฟานโขก Sixty years old, coughing like being hit by a deer (or ? cough like a deer ?)
เจ็ดสิบปี๋ มะโหก เต๋มตั๋ว Seventy years old, having diseases all over the body
แปดสิบปี๋ ใคร่หัว เหมือนไห้ Eighty years old, laughing looks like crying
เก้าสิบปี ไข้ก็ต๋าย บ่ไข้ก็ต๋าย Ninety years old, either getting sick or not, one is dead.



However, I then found from the Net a slightly different wordings for the North-eastern Thai (Esan) adage below. 

จากนั้นไปเจอภาษิตอีสานคล้ายๆ กันบนเน็ต ก็เลยจดมา แล้วแปลเองเพิ่มเติม

สิบปี อาบน้ำบ่หนาว Ten years old, take a bath with cold water without shivering
ซาวปี เล่นสาวบ่เปิด Twenty years old, visit girls without retreating
สามสิบปี ตื่นก่อนไก่ Thirty years old, get up before rooster's crows
สี่สิบปี ไปไฮ่มาทอดหุ่ย Forty years old, sit idly after came back from the plantation
ห้าสิบปี ไปนามาทอดหุ่ย Fifty years old, sit idly after came back from the paddy field
หกสิบปี เป่าขลุ่ยบ่ดัง Sixty years old, can't blow a flute
เจ็ดสิบปี ตีระฆังบ่ม่วน Seventy years old, have no fun hitting a bell
แปดสิบปี หนักหนวกด่วนมาหู Eighty years old, ears are getting deaf
เก้าสิบปี พี่น้องมาดูร้องไห้ Ninety years old, visiting relatives feel like crying (sympathizing)
ร้อยปี บ่ไข้ก็บ่ตาย A hundred years old, if not getting sick, one is not dead yet
ร้อยสิบปี เห็นเดือนหงายว่าแม่นไฟไหม้ A hundred and ten years old, mistaking a waxing moon (lit sky) as fire
ร้อยซาวปี ไข้บ่ไข้ก็ตาย A hundred and twenty years old, whether getting sick or not, one is dead.


I also found another version, not sure of origin.
I believe all versions are derived from the same origin.

ไปเจออีกแบบ ก็เลยจดมา แปลเองอีก 
ผมเชื่อว่า พวกนี้มีต้นกำเนิดเดียวกัน


สิบปี อาบน้ำบ่หนาว Ten years old, take a bath with cold water without shivering
ยี่สิบปี เว้าสาว บ่เบื่อ Twenty years old, talk with girls without feeling bored
สามสิบปี เสือสู้ ทุกท่า Thirty years old, as if a tiger capable of fighting every (obstacles in any) manners
สี่สิบปี ลาเมื่อ ก่อนไก่ Forty years old, say farewell just before rooster's crow (dawn)
ห้าปี ไปนากลับ มาเดินทอดหุ่ย Fifty years old, sit idly after came back from the paddy field
หกสิบปี เป่าขลุ่ย บ่ดัง Sixty years old, can't blow a flute
เจ็ดปี เดินทาง บ่ตรง Seventy years old, can't walk straight
แปดปี ลงเดิน บ่ได้ Eighty years old, can't get down to walk
เก้าปี ขี้ไหล บ่ฮู้ Ninety years old, does not aware of his diarhea (discharge feces)
หนึ่งร้อยปี ไข้ก็ตาย บ่ไข้ก็ตาย A hundred years old, whether getting sick or not, one is dead.

Monday, July 29, 2013

ภาษาไทยใกล้วิบัติในยุคโพสต์โมเดอร์นไทยแลนด์ ?


วันนี้เป็นวันสำคัญ ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ และไม่เห็นว่าสำคัญ
๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยไชโย !   (ผมชูกำปั้น แล้วหันมองขวาซ้าย มีแค่เราพูดอยู่คนเดียว)
อยากเขียนมานาน ทั้งๆ ที่ไม่มีดีกรีภาษาไทย ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
แค่เป็นคนไทยตัวเล็กๆ ซึ่งใช้ภาษาไทยแค่นั้น
ดีเสียอีก ไม่มีหัวโขน ที่ไม่ต้องเกรงคนมาจับถอดออก(เพื่อ “เบิร์ด”กะโหลก)
เอาละหวา วันนี้ขอสักวัน ที่คนจบวิทยาศาสตร์จะมาขยายขี้เท่อความเห็นของตัวเรื่องภาษาไทย

หลายปีก่อน จำได้ว่าเคยอ่านเจอบทความต่างประเทศบทความหนึ่ง ชาวเยอรมันบ่นกันว่า ภาษาของเขา ที่เรียกกันว่า ดอยช์ (Deutsch) กลายเป็น เยอรมันแบบอังกฤษเข้า จนน่าจะเรียกว่า ดอยชลิชท์ (Deutschlish) ได้แล้ว ความหมายของเขาก็คือว่า รูปแบบการใช้ภาษาของคนรุ่นหลังเปลี่ยนไปมาก สำนวนเยอรมันกลายเป็นใช้ไวยากรณ์และคำอังกฤษแบบอเมริกันเข้ามาปนเต็มไปหมด ผมหันมารำพึงในทำนองเดียวกันกับภาษาไทยของเราบ้าง ก็เข้าอีหรอบเดียวกันนั่นแหละ ภาษาของคนกรุงเทพฯ หรือคนชั้นกลางตอนนี้ น่าจะเรียกว่าเป็น ไทยลิช (Thailish) ได้เหมือนกัน เรื่องนี้ผมเคยเขียนบล๊อกบ่นมาเมื่อหลายปีก่อน หนนี้ขอบ่นซ้ำ เป็นคำรบสอง

“ทำอะไรตามใจคือไทยแท้” คำกล่าวที่เคยได้ยินหลายสิบปีมาแล้ว ไม่ทราบมาจากไหน แต่ผมเห็นว่าจริง โดยเฉพาะสำหรับคนสมัยนี้ (อยากจะหมายถึงคนในวัยที่อายุคงจะต่ำกว่า ๕๐ แต่คนสูงวัยกว่านี้ที่ทำอะไรเหมือนเด็กก็อาจจะมี) ที่จะกล่าวก็คือในบริบทของการใช้ภาษาไทย ขอเปลี่ยนประโยคเด็ดนั้นให้ชัดเจนขึ้นว่า “ใช้ภาษาเลวตามใจคือไทยลิช” (ไทยลิชในที่นี้ผมหมายถึง คนในประเทศไทย แต่จะหมายถึงภาษาไทยแบบอังกฤษก็ตามใจ)

ถ้านึกไม่ออกว่าไทยลิชเป็นยังไง ลองไปเปิดโทรทัศน์ฟังสำนวนข่าวที่ผู้ประกาศข่าวพูดตามบทกันเองบ้าง ว่าผมพูดจริงไหม

บอกตรงๆ (ไม่ใช่ “บ่องตง”) ผมไม่ทราบว่า หัวหน้าฝ่ายข่าวของสถานีโทรทัศน์แต่ละช่องไปจ้างใครที่ไหนมาเขียนบทข่าว ผมว่าส่วนมากน่าจะเป็นพวกคนรุ่นใหม่ที่อ่านภาษาไทยไม่แตก ชอบแปลสำนวนฝรั่งมาโต้งๆ ทั้งนั้น ความหมายก็คือ ส่วนมากเขาคงรูปแบบประโยคตามไวยากรณ์อังกฤษ ไม่ใช้สำนวนง่ายๆ แบบในภาษาไทยแบบดั้งเดิม (ถ้าจะให้นิยามหลวมๆ ผมนึกถึงภาษาไทยยุครัชกาลที่ ๖ หรือใครจะชอบย้อนยุค ไปถึงจดหมายราชฑูต “โกษาปาน” สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ก็ได้) นี่เป็นประเด็นแรก

(ประเด็นนี้ต้องอธิบายนอกเรื่องนิดหนึ่งว่า ผมไม่ได้ต่อต้านการใช้ศัพท์สมัยใหม่ ผมแค่รำคาญคนใช้ประโยคยาวๆ รุงรัง ฟุ่มเฟือยคำ เสียมากกว่า ถ้าใครเป็นหนอนหนังสือ อาจจะเคยอ่านเจอบ้างว่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ คนไทยก็บ่นกันมาแล้วเรื่องการใช้ภาษา ตัวอย่างคำว่า “ทำการ” ไม่ควรใช้ ไม่จำเป็น เพราะภาษาไทยไม่มี “present continuous” ซึ่งคำกิริยาต้องเติม ing  อย่างในภาษาอังกฤษ อย่างเช่นที่มักอ่านข่าวกันว่า "ตำรวจทำการจับกุม" ก็ควรว่าไปเลยสั้นๆ ว่า "ตำรวจจับกุม" อย่างนี้เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องมีคำเยิ่นเย้อ อันนี้ท่านบ่นกันมาเมื่อร้อยปีที่แล้ว ผมสงสัยว่า เฉพาะคำนี้ อีกร้อยปีข้างหน้าคนที่รักภาษาไทยก็ยังคงบ่นกันได้ต่อไปอีก ถ้าภาษาไทยจะยังมีคนใช้อยู่ในอนาคต แต่ผมว่า นอกจากคำนี้ ยังมีคำและสำนวนเยิ่นเย้ออีกมาก ที่ควรตัดออกไปได้ให้กระชับ และความหมายตรงประเด็น)

แต่ครั้นเมื่อไรที่คนอ่านข่าวไม่อ่านตามบท พยายามด้นสดเอาเอง การใช้ภาษาของเธอ(และเขา)ก็เปลี่ยนฐาน (mode) กลับตาลปัต จากสำนวนฝรั่งพูดไทย ก็กลายเป็นคำพูดยาวๆ ไร้สาระ อ้อมค้อม วกวน ซ้ำไปมา น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง เหมือนกับพวก “ดีเจ”พูดออกวิทยุ คือพูดตั้งนานอาจสรุปเหลือใจความกระชับแค่ประโยคเดียวก็ยังได้ ดูเหมือนว่า ผู้ประกาศส่วนมากไม่สามารถสรุปใจความสำคัญ หรือไม่เป็นเอาเลย หรือว่า สักแต่ว่าพูดๆ ไป ถ่วงให้หมดเวลาเท่านั้น เรื่องพูดจาน้ำท่วมทุ่ง นี่เป็นประเด็นที่สอง

ผมเลยหงุดหงิด พาลไม่ดูโทรทัศน์ไปเลย รู้สึกว่าจะเสียเวลาเปล่า กลัวจะทำให้ฉลาดน้อยลง

ทำไมหงุดหงิดรึ ?
ก็ผมคิดไปไกลไง จะว่าให้ฟังย่อๆ ก็แล้วกันนะ

ผมไปนึกถึงกฏทางวิชาพันธุศาสตร์อันหนึ่ง (เอ๊ะ มันเกี่ยวอะไรด้วยกับภาษา ? คนอ่านสงสัยก็คงต้องทนอ่านต่อไปก่อน) เรียกว่า Hardy-Weinberg principle ซึ่งว่าด้วย สมดุลย์ของความถี่ทางจีโนไทป์ (genotype) หรือคุณลักษณะของยีนส์ในประชากร ความถี่ของคุณลักษณะของยีนส์ในประชากรนั้น ควรจะอยู่ในอัตราคงที่ “ถ้า”ไม่มีปัจจัยภายนอกเข้ามา (ผมใส่เครื่องหมายคำพูดเอาไว้ เพราะกรณีนี้เข้าข่ายเงื่อนไขที่ฝรั่งเรียกว่า “big if”) ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ สมมุติว่า ความถี่ของคนเพศชายกับเพศหญิงในสังคมน่าจะเป็น 0.5 : 0.5 เป็นต้น แต่ปัญหาก็คือ “มี”ปัจจัยภายนอกเข้ามา อย่างตอนนี้ อัตราส่วนของประชากร ชาย ต่อ หญิง ไม่ใช่เช่นนั้นอีกแล้ว ไม่ว่าจะสังคมจีนหรือสังคมไหนๆ ด้วยเหตุผลต่างๆ เพราะว่ามีปัจจัยภายนอกเข้ามานั่นเอง

ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราพูดถึง วิวัฒนาการของภาษา ถ้าไม่มีปัจจัยภายนอกเข้ามามีผล แต่ละภาษาในแต่ละสังคมก็พัฒนาไปเรื่อย ตามเงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนไป อันนี้เป็นเรื่องดี ภาษาใดไม่พัฒนาก็คงเป็นภาษาที่ตายแล้ว แต่ถ้ามีปัจจัยภายนอกที่สำคัญเข้ามา มันก็กระทบอย่างมาก และเป็นผลต่อสังคมโดยรวมอีกด้วย อย่างกรณีที่ผมพูดถึง คนใช้ภาษาไม่ดีเพียงไม่กี่สิบคนออกอากาศทางโทรทัศน์ นี่พูดรวมตั้งแต่ คนเขียนบทอ่านข่าว ผู้ประกาศ ดีเจ ฯลฯ คนนั่งดูโทรทัศน์และดูจากวีดิโอคลิปอีกหลายสิบล้านคนทางบ้าน เมื่อเจอภาษาไทยห่วยๆ ก็รับรู้ และเกิดการเรียนรู้ตามไปด้วย และสำหรับบางคนที่เกิดชื่นชอบก็เกิดการเลียนแบบ เผลอแผล็บเดียว การรับรู้บางอย่างก็ของสังคม กลายเป็นค่านิยมของสังคมไปแล้ว

ขออีกสักดอกเหอะ!  การที่พวกนักการเมืองไทยชอบใช้สรรพนามเรียกบุคคลที่ ๒ ว่า “ท่าน” นั้น ก็เข้าข่ายเรื่องนี้ สมัยก่อน ผมเรียนมาว่า คำว่า “ท่าน”นี้ คนรุ่นก่อนท่านใช้เป็นสรรพนามแทนคนระดับ หม่อมเจ้า หรือกับพระภิกษุ ถ้าเราไม่ได้พูดสนทนากับหม่อมเจ้า เราก็ไม่ต้องไปยอยกคนธรรมดาที่พูดด้วยว่าเป็นท่าน ตอนนี้ใช้กันเฝือจนเป็นแฟชั่นกันไปหมดแล้ว   อยากจะเดาเอาเองว่า เพราะว่า คนทั่วไปมีตัณหาของตัวเอง อยากให้คนอื่นเขาเรียกตัวว่า “ท่าน” ด้วย ก็ใช้กันในสถานที่ต่างๆ ที่มีแต่ผู้ใส่สูทสากล สังคมไทยภายนอกที่ดูโทรทัศน์ได้ยินก็เอาอย่าง อยากเป็น “ท่าน” กันบ้าง คนสนทนากันก็ใช้คำนี้ ใช้กันใหญ่ (ขอประทานโทษ) แม้แต่ นายก อบต. ก็ยังเป็น “ท่าน”ได้ :-)   เขียนตอบโต้กันบนเน็ตก็ใช้คำนี้ ก็เมื่อคำนี้กลายมาใช้กับคนธรรมดาสามัญเสียแล้ว (หม่อมเจ้ายกไว้ คงมีไม่มาก) กับพระภิกษุ เราจะเปลี่ยนไปใช้คำสรรพนามกับท่านว่ากระไร

ดูเหมือนเหตุการณ์บ่งชี้ว่า คนส่วนหนึ่งในสังคมไทยยึดติดและชอบเจ้ายศเจ้้าอย่าง ชอบมีหน้ามีตา ชอบให้คนสรรเสริญ แต่ไม่ชอบทำงานหนักเพื่อให้ได้หรือสมควรกับเกียรตินั้น (ดูอย่างพวก ด๊อกเตอร์ กำมะลอ มีเป็นแถวๆ ใครอยากเป็น ดร. แต่ไม่อยากเรียนเอง เป็นพ่อค้าเอาเงินไปซื้อเอามาก็ยังได้ และก็มาหลอกชาวบ้าน หลอกคนอื่นได้บางส่วน แถมทำเป็นลืมๆ หลอกตัวเองไปได้เสียอีก ความจริงเขาต้องวงเล็บท้ายชื่อด้วยว่า honoris causa ภาษาละตินแปลว่า กิตติมศักดิ์ และก็ตาม “ทำเนียม”ฝรั่งเขาไม่ใช้ ดร. นำหน้าชื่อกัน แต่คนไทยก็เอามาใช้กันเกร่อ) ผมอยากจะเดาไว้ก่อนเลยว่า สังคมไทยในอนาคต จะต้องมีคำพูดใหม่ที่ใช้แทน “ท่าน” ให้มันฟังดูสูงส่งยิ่งกว่าคำนี้อีก

อีกเรื่องหนึ่งก็ การใช้สะกดคำแบบแปลกๆ แผลงๆ ส่วนมากเจอบนเน็ต หรือ อีเมล์ มีมากจนเฝือ
ผมเดาเอาว่าเพื่อให้ผู้ใช้ภาษาสะกดผิดๆ นั้นเองรู้สึกดี ว่าไม่เหมือนใคร คล้ายสมัยเด็กๆ ที่เราได้ยินสำนวนพวกจิ๊กโก๋พูดกัน แต่นั่นได้ยินทางหู แต่ตอนนี้ เป็นลายลักษณ์อักษร บนเน็ต (ตัวอย่างเช่น บางคนจงใจเขียนว่า “หั้ย” แทนที่จะใช้คำที่ถูกว่า “ให้”,  และก็ “บ่องตง” แทนที่จะเป็น “บอกตรงๆ”  เป็นต้น) ผมอ่านแล้วก็หงุดหงิด  บางคนที่ผมรู้จัก อายุอานามก็แยะแล้วก็ยังเอากับเขาด้วย อยากเป็นเด็กวัยรุ่น ผมได้แต่ถอนใจ หวังว่าปรากฎการณ์นี้จะเป็นแค่ชั่วคราว แต่ถ้าไม่ชั่วคราวละก็ ภาษาไทยวิบัติแน่ หากมีเวลาจะมาขยายความในโอกาสหน้าว่ามันเสียหายอย่างไร

อีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดคำแปลกๆ ก็เพื่อเป็นการจงใจเลี่ยงการเซ็นเซอร์คำ ของโปรแกรมกรองคำหยาบแบบลวกๆ (ผมหมายถึงการเขียนสคริปต์ฝีมือห่วยๆ บนเว็บ ประเภทใช้ RegEx ในภาษาใดก็ตามดึงเอาตัวอักขระบางส่วนออกไป เพื่อเปลี่ยนคำในบัญชีคำหยาบไปเป็น xxx อะไรทำนองนั้น โดยไม่สนใจว่า มันอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำที่ใหญ่กว่านั้น อย่างเช่น คำว่า “เหี้ยมหาญ” ถ้าแก้แล้วมันก็จะหลายเป็น “เxx้ยมหาญ” ใครเจอแล้วก็รู้สึกรำคาญ พอจะเข้าใจไหมครับ ? แต่ถ้าท่านยังไม่เข้าใจประโยคนี้ของผมก็ไม่เป็นไร) มันก็เลยมีคำประเภทว่า “กรู” แทน “กู” และ "มรึง" แทน "มึง" ฯลฯ จึงมีคำแปลกๆ งอกมาอีกเป็นสิบๆ คำ เพื่อหาทางอ้อมการตรวจคำด้วยสคริปต์ห่วยๆ พวกนั้น

อดไม่ได้นะครับ คนเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ ก็ต้องวกไปพูดเรื่องที่ตัวเองพอรู้จนได้

เหวย ! สะใจจัง วันนี้ระบายอารมณ์

จบภาค ๑

Monday, July 08, 2013

Thai Thesaurus


An article entitled "Why other languages don't use thesauruses like we do" which I stumbled upon prompted me to write this blog entry.

Yes, like English, Thai language also has "a" thesaurus, at least that 's the only one I am aware of. The tome, or compilation, by Prof. นววรรณ พันธุเมธา , was named คลังคำ which essentially means 'word treasury', similarly to the root "thesaurus". It 's an admirable work. So far it is in its 6th printing. The first printing, in my possession, was printed in B.E. 2544, or year 2001. So I think a number of Thai people are using the Thai thesaurus too.

I wished there were another one by different scholars, but Thai language experts seems to be rare.  I think, even better Thai Thesaurus should be online and software versions as well.

Monday, January 14, 2013

Good book: Parts of Speech in Thai: A Syntactic Analysis


I stumbled upon a nice Thai book, ชนิดของคำในภาษาไทย การวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์ โดย ดร. อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (Parts of Speech in Thai: A Syntactic Analysis), by Dr. Amara Prasithrathsint, Professor Emeritus at Chulalongkorn University.  This is a result of her recent research work sponsored by TRF which used Lexicase Dependency Grammar, to analyze Thai words. LDG theory was initiated by the late Prof. Stanley Starosta  of Hawaii University, 

I am not a linguist but I have been interested in Thai language and translations between Thai and English. This book is a good work. It dawns on me that we (Thais) use our words differently, with respect to 'part of speech' in a sentence, when compare to English.  I remember her one example, a word สวย, which means 'beautiful', but we Thais use it not as an adjective like in English, but as a verb. Interesting in deed. The author has different interpretation on Thai PoS compare to those of other Thai linguistic scholars and with the Thai Dictionary of the Royal Thai Society. This book serves as an important foundation work toward our better understanding of Thai linguistic structure, with enormous future applications, in my opinion, including machine translation.

What I think would be useful is a list (in 250 pages) of Thai 'verbs' used in various contexts.  This part alone would be useful for any future improvements of existing Thai dictionaries.

It is amazing that this first edition of the book, published in 2010 in a very limited number of 300, is still available at the CU bookstore.

I have yet to re-read it again. I think, after I understand better on Thai PoS,  my translation hobby could be somewhat improved.