Wednesday, October 18, 2006

หลวงพ่ออุตตมะ Luangphor Uttama

The venerable Luangphor Uttama, passed away of septicemia today at Siriraj Hospital.
The elderly monk is widely repected by Thais, Mons, and Burmeses. The Mon ethnic Buddhist monk escaped the civil war in Burma into Thailand several decades ago and built the Wat Wangwiwekaram monastery in Sangkhla Buri district of Kanchanaburi, not far away from the Three Pagodas Pass. His current temple, as well as his former temple, which is now submerged under the water level after a dam construction decades ago, are major tourist attractions.

หลวงพ่ออุตตมะ
วัดวังก์วิเวการาม สังขละบุรี ด่านพระเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรี
โรงพยาบาลศิริราช มอญ

Sunday, October 15, 2006

ตลกของชาววัด

นึกได้เลยจดไว้ก่อน กันลืม พระอาจารย์สอนอภิธรรมเล่าไว้นานแล้ว ตลกดี พวกเราได้ยินแล้วก็หัวเราะกันแทบกลิ้ง คนนอกแวดวงวัดอาจจะว่าไม่ตลกก็ได้
เรื่องมีอยู่ว่า

เมื่ออุบาสกคนหนึ่งนั่งอยู่ในศาลาวัด รอเวลาทำบุญอยู่ก่อน ต่อมาก็โดนคนอื่นไล่ที่ ให้ไปนั่งที่อื่น เพราะคนอื่นบอกว่า เขาจะตั้งของถวายพระตรงนั้น 

อุบาสกท่านนั้นก็เลยบ่นว่าเป็นคาถาบาลีออกมาว่า

ถิตํ มิตํ จ มาตํ ทิกูนํ

แปลเป็นภาษาไทยชัดๆ ได้ว่า

ที่ตั้ง(อื่นมี) ไม่ตั้ง จะมาตั้งที่กูนั่ง

(ฮา)

Sunday, October 01, 2006

ปาท บาท & path

ปาท บาท & path เป็นคำเดียวกัน

ปาท เป็นภาษาบาลี อ่านว่า ปาทะ คนไทยจะไม่ค่อยเจอคำนี้ เว้นแต่เป็นพวกชอบหนังสือธรรมะ ภาษาไทยใช้ว่าบาท จะแปลว่าเท้าก็ได้ ในหนังสือ พจนานุกรม บาลี ไทย ของ พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) กับ รศ. ดร. จำลอง สารพัดนึก บอกว่า ปาท แปลว่า เท้า เชิง เสี้ยว เศษหนึ่งส่วนสี่ ราก หรือ ปุ่ม
แต่ผมว่าน่าจะอนุโลมใส่คำแปลว่า เนื่องด้วยเท้า ก็คือทางเดินก็ได้ (แต่ผมไม่รู้บาลีมากหรอก ดังนั้นคำเสนอนี้พูดกับตัวเองมากกว่า) และสังหรณ์ว่า ปาท เป็นรากคำในภาษาอังกฤษว่า path ด้วย

เพิ่่ง ถึงบางอ้อ เมื่อวานเอง

ถ้าอย่างนั้น คำว่า foot path ที่ไทยเราเรียกว่า ฟุตบาธ ก็จริงๆแล้ว คือคำว่า เท้าเท้า หรือ ทางเดินของเท้า น่ะถูกแล้ว ความจริงน่าจะเรียก บาทบาท แฮะ

อ้อ และก็ เพราะว่า ในมาตราเงินไทยโบราณนั้น ๔ บาท เป็นหนึ่งตำลึง ด้วยเหตุที่ตำลีงเป็นหน่วยหลัก เศษ 1/4 ของตำลึงก็คือ บาทหนึ่งนั่นเอง Baht แต่สมัยผมเด็กๆ ห้าสิบปีก่อน เรียกว่า ติเกิล หรือ Ticles ไม่รู้มาจากคำว่า ticket หรือเปล่า

แต่ผมยังคิดไม่ออกว่า ทองหนักหนึ่งบาท นั้นมันมาได้ยังไง ทำไมถึงมาเท่ากับ 15.2 gm  ได้ในที่สุด

บาทบริจา คำนี้ ก็คงมาจาก บาท บวกกับ ปริ แปลว่า รอบๆเท้า ก็คือเมียนั่นเอง เพราะสมัยโบราณ เจ้านายคงจะมีเมียใหญ่น้อยหมอบคลานอยู่รอบๆ