ปาท บาท & path เป็นคำเดียวกัน
ปาท เป็นภาษาบาลี อ่านว่า ปาทะ คนไทยจะไม่ค่อยเจอคำนี้ เว้นแต่เป็นพวกชอบหนังสือธรรมะ ภาษาไทยใช้ว่าบาท จะแปลว่าเท้าก็ได้ ในหนังสือ พจนานุกรม บาลี ไทย ของ พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) กับ รศ. ดร. จำลอง สารพัดนึก บอกว่า ปาท แปลว่า เท้า เชิง เสี้ยว เศษหนึ่งส่วนสี่ ราก หรือ ปุ่ม
แต่ผมว่าน่าจะอนุโลมใส่คำแปลว่า เนื่องด้วยเท้า ก็คือทางเดินก็ได้ (แต่ผมไม่รู้บาลีมากหรอก ดังนั้นคำเสนอนี้พูดกับตัวเองมากกว่า) และสังหรณ์ว่า ปาท เป็นรากคำในภาษาอังกฤษว่า path ด้วย
เพิ่่ง ถึงบางอ้อ เมื่อวานเอง
ถ้าอย่างนั้น คำว่า foot path ที่ไทยเราเรียกว่า ฟุตบาธ ก็จริงๆแล้ว คือคำว่า เท้าเท้า หรือ ทางเดินของเท้า น่ะถูกแล้ว ความจริงน่าจะเรียก บาทบาท แฮะ
อ้อ และก็ เพราะว่า ในมาตราเงินไทยโบราณนั้น ๔ บาท เป็นหนึ่งตำลึง ด้วยเหตุที่ตำลีงเป็นหน่วยหลัก เศษ 1/4 ของตำลึงก็คือ บาทหนึ่งนั่นเอง Baht แต่สมัยผมเด็กๆ ห้าสิบปีก่อน เรียกว่า ติเกิล หรือ Ticles ไม่รู้มาจากคำว่า ticket หรือเปล่า
แต่ผมยังคิดไม่ออกว่า ทองหนักหนึ่งบาท นั้นมันมาได้ยังไง ทำไมถึงมาเท่ากับ 15.2 gm ได้ในที่สุด
บาทบริจา คำนี้ ก็คงมาจาก บาท บวกกับ ปริ แปลว่า รอบๆเท้า ก็คือเมียนั่นเอง เพราะสมัยโบราณ เจ้านายคงจะมีเมียใหญ่น้อยหมอบคลานอยู่รอบๆ
No comments:
Post a Comment