Wednesday, October 18, 2006

หลวงพ่ออุตตมะ Luangphor Uttama

The venerable Luangphor Uttama, passed away of septicemia today at Siriraj Hospital.
The elderly monk is widely repected by Thais, Mons, and Burmeses. The Mon ethnic Buddhist monk escaped the civil war in Burma into Thailand several decades ago and built the Wat Wangwiwekaram monastery in Sangkhla Buri district of Kanchanaburi, not far away from the Three Pagodas Pass. His current temple, as well as his former temple, which is now submerged under the water level after a dam construction decades ago, are major tourist attractions.

หลวงพ่ออุตตมะ
วัดวังก์วิเวการาม สังขละบุรี ด่านพระเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรี
โรงพยาบาลศิริราช มอญ

Sunday, October 15, 2006

ตลกของชาววัด

นึกได้เลยจดไว้ก่อน กันลืม พระอาจารย์สอนอภิธรรมเล่าไว้นานแล้ว ตลกดี พวกเราได้ยินแล้วก็หัวเราะกันแทบกลิ้ง คนนอกแวดวงวัดอาจจะว่าไม่ตลกก็ได้
เรื่องมีอยู่ว่า

เมื่ออุบาสกคนหนึ่งนั่งอยู่ในศาลาวัด รอเวลาทำบุญอยู่ก่อน ต่อมาก็โดนคนอื่นไล่ที่ ให้ไปนั่งที่อื่น เพราะคนอื่นบอกว่า เขาจะตั้งของถวายพระตรงนั้น 

อุบาสกท่านนั้นก็เลยบ่นว่าเป็นคาถาบาลีออกมาว่า

ถิตํ มิตํ จ มาตํ ทิกูนํ

แปลเป็นภาษาไทยชัดๆ ได้ว่า

ที่ตั้ง(อื่นมี) ไม่ตั้ง จะมาตั้งที่กูนั่ง

(ฮา)

Sunday, October 01, 2006

ปาท บาท & path

ปาท บาท & path เป็นคำเดียวกัน

ปาท เป็นภาษาบาลี อ่านว่า ปาทะ คนไทยจะไม่ค่อยเจอคำนี้ เว้นแต่เป็นพวกชอบหนังสือธรรมะ ภาษาไทยใช้ว่าบาท จะแปลว่าเท้าก็ได้ ในหนังสือ พจนานุกรม บาลี ไทย ของ พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) กับ รศ. ดร. จำลอง สารพัดนึก บอกว่า ปาท แปลว่า เท้า เชิง เสี้ยว เศษหนึ่งส่วนสี่ ราก หรือ ปุ่ม
แต่ผมว่าน่าจะอนุโลมใส่คำแปลว่า เนื่องด้วยเท้า ก็คือทางเดินก็ได้ (แต่ผมไม่รู้บาลีมากหรอก ดังนั้นคำเสนอนี้พูดกับตัวเองมากกว่า) และสังหรณ์ว่า ปาท เป็นรากคำในภาษาอังกฤษว่า path ด้วย

เพิ่่ง ถึงบางอ้อ เมื่อวานเอง

ถ้าอย่างนั้น คำว่า foot path ที่ไทยเราเรียกว่า ฟุตบาธ ก็จริงๆแล้ว คือคำว่า เท้าเท้า หรือ ทางเดินของเท้า น่ะถูกแล้ว ความจริงน่าจะเรียก บาทบาท แฮะ

อ้อ และก็ เพราะว่า ในมาตราเงินไทยโบราณนั้น ๔ บาท เป็นหนึ่งตำลึง ด้วยเหตุที่ตำลีงเป็นหน่วยหลัก เศษ 1/4 ของตำลึงก็คือ บาทหนึ่งนั่นเอง Baht แต่สมัยผมเด็กๆ ห้าสิบปีก่อน เรียกว่า ติเกิล หรือ Ticles ไม่รู้มาจากคำว่า ticket หรือเปล่า

แต่ผมยังคิดไม่ออกว่า ทองหนักหนึ่งบาท นั้นมันมาได้ยังไง ทำไมถึงมาเท่ากับ 15.2 gm  ได้ในที่สุด

บาทบริจา คำนี้ ก็คงมาจาก บาท บวกกับ ปริ แปลว่า รอบๆเท้า ก็คือเมียนั่นเอง เพราะสมัยโบราณ เจ้านายคงจะมีเมียใหญ่น้อยหมอบคลานอยู่รอบๆ

Wednesday, September 27, 2006

ค.ป.ค. CDRM

ค.ป.ค. คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะปฏิรูปฯ
CDRM Council of Democratic Reform Under Constitution Monarchy
CDR Council of Democratic Reform

คำนี้เป็นคำใหม่ หมายถึงคณะนายทหารที่ทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นำโดย พลเอกสนธิ บุญญะรัตกลิน
ต่างประเทศบางสื่อเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า silk revolution

ปู่มิ่ง Poo Ming

ปู่มิ่ง คือชื่อของ เจ้าที่ (Guardian spirit) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport / New Bangkok International Airport) ที่ไปเข้าประทับพนักงานคนหนึ่งเมื่อสองสามวันก่อน ขณะมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ ตามข่าวบอกว่ามีพระ ๙๙ รูป จนเป็นข่าวใน บางกอกโพสต์ และมีการนำไปแพร่ต่อทั่วบนอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น

http://www.timesonline.co.uk/article/0,,3-2376565,00.html

เพิ่งดูข่าวเมื่อสักครู่ เห็นว่า บริษัทท่าอากาศยาน รีบยกศาลเสร็จแล้ววันนี้ คงกลัว กลัวว่าจะมีปัญหาวันเปิดสนามบินอย่างเป็นทางการ ในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนี้

Saturday, August 26, 2006

อารยะขัดขืน หรือ civil disobedience

อารยะขัดขืน แปลมาจากคำว่า civil disobedience

คำนี้พบไม่นานมานี้ มายุคนายกทักษิณ นี้เองที่เริ่ีมมีการคิดคำนี้ใช้กันในวงการวิชาการ เพื่อเป็นการแสดงการขัดขืนอำนาจบริหารงานของนายกรัฐมนตรี

ความจริงภาษาไทยก็มีคำที่คล้ายๆกัน พอจะมาใช้ได้ในความหมายเดียวกัน อย่างเช่น คว่ำบาตร แต่คำนี้จะไปตรงกับคำว่า boycott มากกว่า

จากข่าวการเมืองก็ยังมีคำพบใหม่อีก จะทะยอยเก็บมาภายหลัง

Wednesday, August 23, 2006

Messy ways of Thai language transliteration "standards"

I agree with this Bangkok Post article.

http://www.bangkokpost.com/Database/23Aug2006_data001.php

คำเสียงยาว ที่ไม่มีในตำราภาษาไทยหรือพจนานุกรม

เดี๋ยวนี้เจอหลายครั้ง เช่นจากหนังสือพิมพ์ ตำที่ต้องการให้รู้ว่าอ่านเสียงยาวๆ เขาก็จะเขียนใส่ตัวสะกดไว้หลายๆตัว อย่างเช่น

โอ้ยยยยยยยย
ว้าววววววววว
มาอีกแล้วววววววว

บางทีก็มี ! ต่อท้ายอีก

นับว่าคนช่างคิดหาวิธีมาใช้ แต่เป็นการเขียนคำที่ไม่มีในตำราภาษาไทย
คำพวกนี้ถ้าจะเขียน parser ต้องตัดเอาตัวสะกดที่ซ้อนกันเกินออกทิ้งไป

Tuesday, July 11, 2006

จิต เภทนัย

จิต เภทนัย
การแยกประเภทของจิตเป็น ๙ นัย

ชาติเภทนัย
อกุศลชาติ ๑๒ ดวง
กุศลชาติ ๓๗ ดวง
วิปากชาติ ๕๒ ดวง
กริยาชาติ ๒๐ ดวง

ภูมิเภทนัย
กามภูมิ ๕๔ ดวง
รูปภูมิ ๑๕ ดวง
อรูปภูมิ ๑๒ ดวง
โลกุตตรภูมิ ๔๐ ดวง

โสภณเภทนัย
อโสภณจิต ๓๐ ดวง
โสภณจิต ๙๑ ดวง

โลกเภทนัย
โลกียจิต ๘๑ ดวง
โลกุตตรจิต ๔๐ ดวง

เหตุเภทนัย
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง
สเหตุจิต ๑๐๓ ดวง

ฌานเภทนัย
อฌานจิต ๕๔ ดวง
ฌานจิต ๖๗ ดวง

เวทนาเภทนัย
สุขเวทนา ดวง
ทุกเวทนา ดวง
โสมนัสสเวทนา ๖๒ ดวง
โทมนัสสเวทนา ดวง
อุเบกขาเวทนา ๕๕ ดวง

สัมปโยคเภทนัย
สัมปยุตตจิต ๘๗ ดวง
วิปปยุตตจิต ๓๔ ดวง

สังขารเภทนัย
อสังขาริกจิต ๓๗ ดวง
สสังขาริกจิต ๘๔ ดวง

Wednesday, June 21, 2006

พระบิดา

ในบริบท เช่น พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ หรือ ฯลฯ
คำนี้เคยอ่านเจอว่า ราชบัณฑิตท่านหนึ่งเคยให้ความเห็นว่า ใช้ว่่า บิดา เฉยๆ เพราะคำที่ตามมาไม่ใช่บุคคล แต่ก็เห็นใช้เกร่อ ทาง นสพ.

Tuesday, June 20, 2006

ตามรอย

tracing the biography of ...
tracking the story of ...
visiting the historical places related to the life of ...

สำนวนฝรั่งผมแปลเอาเองแหละ สำนวนตามรอยนี้ตอนนี้หนังสือพิมพ์ไทยชอบกันจังแฮะ แต่ผมไม่ค่อยชอบ เพราะไปนึกเทียบเคียงกับกรณี นายพรานตามรอยเท้าสัตว์ หรือ แกะรอย แต่บางที นสพ.เอาไปใช้กับปูชนียบุคคลเป็นประจำ

กรณีนี้่ ตามรอย ไม่เหมือนกับแกะรอย (tracking animal's footprints by a hunter)

Friday, June 09, 2006

Siriyalai Palace, in Ayutthaya

I believe it is the name of the Queen's palace on the bank of Chao Phraya River, across the river to Wat Chaiwatanaram .

I am not sure how to pronounce it correctly in Thai alphabets since I got this name from Bangkok Post today. Just posted it here as reminder for myself via widget. Perhaps it is spelled as สิริยาลัย

Thursday, May 25, 2006

ปัจจัย ๔

มีสองความหมาย

๑ ทางพระอภิธรรม ใน พระพุทธศาสนา ปัจจัย ๔ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดรูป ได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร


๒ โดยท้่วไป หมายถึง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค

Monday, May 08, 2006

การยศาสตร์

การยศาสตร์ เป็นศัพท์ที่ใช้สำหรับคำในภาษาอังกฤษว่า ergonomics

Monday, April 17, 2006

พันล้าน

ภาษาไทยโบราณดูเหมือนจะใช้ว่า ตื้อ เช่นในชื่อพระพุทธรูป พระเจ้าองค์ตื้อ อีกอย่างเคยอ่านเจอใช้ว่า ร้อยโกฏ (ก็คือร้อยสิบล้านนั่นแหละ) แต่ไม่มีใครใช้ใน นสพ.

พันล้านปี = billion years ฝรั่งใช้ตัวย่อว่า Gyr สงสัยมาจากคำว่า Gigayears

ตัวย่อภาษาอังกฤษ Gyr นี้ยังไม่มีใช้ในสื่อภาษาไทย
เพิ่งเจอตัวย่อนี้ในวารสารวิชาการ อย่างเช่น Nature

Saturday, April 15, 2006

อกุศล และ ศีล

กุศล แปลว่า ฉลาด
อกุศล แปลว่า ไม่ฉลาด

การไม่ทำอกุศล เป็นการไม่ทำสิ่งที่จะทำให้เกิดเดือดร้อนใจในภายหลัง คือ ไม่ทำสิ่งที่ไม่ฉลาด

ศีล แปลว่า ความตั้งใจที่จะงดเว้น

Thursday, April 13, 2006

อะไร หัน



หมูหัน อันที่จริงน่าจะเรียกว่า ลูกหมูหัน น่าจะใช้ว่า roasted-piglet
เคยไปปาร์ตี้หนึ่ง ไปดูการย่างหมูทั้งตัว เขาเรียกว่า pig roast party
วัวหัน อันที่จริงน่าจะเรียกว่า ลูกวัวหัน ก็น่าจะแปลว่า roasted-calf

(อ้อ รูปที่โพสต์นี่ผมถ่ายเองทั้งสองรูปแหละ)

ไก่หัน คงเรียกว่า roasted chicken เหมือนกับไก่ย่าง

แต่ เป็ดย่าง ไม่ยักเรียกว่า เป็ดหัน อันนี้ก็เรียกว่า roasted duck ได้

ไม่รู้ว่ามีอะไรหันได้อีก

ถ้าเป็น ปิ้ง ฝรั่งใช้ว่า grill

ที่พูดว่า น่าจะ หรือ คง นั้นเพราะเคยได้ยินมา และขี้เกียจไปเปิด dictionary

Wednesday, April 05, 2006

สะแลงจาก หนังสือพิมพ์

วัดใจ
แลกหมัด
ไล่บี้
งัดกลยุทธ์
ระเบิดแคมเปญ

Tuesday, March 28, 2006

คำเนื่องด้วย ชีว numerous biological terms

ชีววิทยา ไบโอโลยี Biology
 จุลชีววิทยา ไมโครฯ Microbiology

ชีวมวล ไบโอแมส biomass
การควบคุมโดยชีววิธี  biocontrol, biological control

เทคโนโลยีชีวภาพ ไบโอเทคโนโลยี ไบโอเทค biotechnology
  ปุ๋ยชีวภาพ biofertilizer
  ปุ๋ยอินทรีย์ organic fertilizer

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ Biological Sciences
ชีวเคมี Biochemistry (formerly Biological Chemistry)
  แต่ อินทรีย์เคมี = Organic Chemistry
ชีวสารสนเทศ ชีวสารสนเทศศาสตร์ Bioinformatics
ชีววิทยาโมเลกุล หรือ อณูชีววิทยา Molecular Biology
ชีวโมเลกุล ไบโอโมเลกุล  biomolecules
มหโมเลกุล แมคโครโมเลกุล  macromolecules
อาวุธชีวะ Biological weapons, bioweapons
ไบโอดีเซล biodiesel

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  Life Sciences
วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ Biomedical Sciences

ยังหาคำไม่ได้ว่าคนใช้สองคำหลังนี้ว่ายังไงในภาษาไทย

biometrics
biosensor

(more to come)

Saturday, March 25, 2006

ซำปอกง


ความหมายที่ ๑  ซำปอกง หมายถีง หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ องค์ใดองค์หนึ่งก็ตามใน ๓ องค์คือ

พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง พระนครศรีอยุธยา
ดูรูปที่ผมถ่ายเอง ด้านข้างๆนี่

พระพุทธไตรรัตนนายก วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ

หลวงพ่อโต วัดอุภัยภาติการาม ฉะเชิงเทรา

ความหมายที่ ๒  เป็นนามหนึ่งของ เจิ้งเหอ ที่ชื่อเดิมว่า หม่าเหอ หัวหน้าขันทีของจักรพรรดิจีน หมิงเฉิงจู่ ผู้บัญชาการกองเรือขนาดใหญ่ของจีน ที่ออกทะเลไปดินแดนต่างๆ คนก็เรียกว่า ซำปอกง

เฉพาะข้อมูลได้จาก นสพ. ผู้จัดการ ฉบับ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๙ หน้า ๓๖

พุทธิกา

ชื่อกลุ่ม จากการรวมตัวของสมาชิกเครือข่าย ๘ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิพุทธธรรม  มูลนิธิเด็ก มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิสาส์นแสงอรุณ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง เสมสิกขาลัย


จาก นสพ. ผู้จัดการ ฉบับ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๙ หน้า ๓๓ ๓๔

Sunday, March 12, 2006

อบอุ่นร่างกาย

เห็นมีใช้วลีนี้ตามวารสารต่างๆ และแม้แต่โฆษกข่าวกีฬาก็ใช้ สงสัยใช้กันตามทีวีนั่นแหละ ในความหมายสำนวนอเมริกันว่า warm-up แต่ผมไม่ชอบที่ใช้กัน ทำไมต้องมีคำว่าอบด้วย อุ่นร่างกายเฉยๆไม่ได้ริไง

กรณีนี้เข้าอีหรอบเดิม คนใช้คำตามคนส่วนน้อยที่ไม่ระวัง หรือไม่สันทัดภาษาไทยแต่เผอิญไปออกทีวีบ่อยๆ ทำเอาสำนวนที่ถอดมาจากภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นไม่เข้าท่า

Saturday, February 25, 2006

ภาษาไทยอาจสูญไปในอีกสองทศวรรษถ้าไม่ทำอะไร

นี่ผมคิดจริงๆว่า ภาษาไทยอาจสูญไปในอีกสองทศวรรษ อย่างน้อยก็ในทางวิชาการและในระบบดัชนีในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่ทำอะไร

ว่างๆจะมาเขียนต่อ

Friday, February 24, 2006

ภาษาไทยปัจจุบันกับวิทยาศาสตร์

สมัยผมเป็นเด็กนักเรียน ผมชอบวิชาภาษาไทย และ วรรณคดีไทย ตอนผมยังเล็ก ผมอ่านรามเกียรติ์ฉบับ ร. ๑ จบทุกเล่มตั้งแต่เรียน ประถม ๔

แต่พอผมจบวิทยาศาสตร์มา บางครั้งต้องแปลบทความวิชาการภาษาอังกฤษเป็นไทย รู้สึกว่า แม้ว่าเราจะภาษาไทยดี แต่ก็ประสบปัญหาแปลเป็นไทยได้ลำบาก (แล้วเด็กรุ่นใหม่ที่เรียนโปรแกรม ELP (English Language Program) ตั้งแต่ประถม จนเป็นแฟช้ันนี่จะเป็นยังไง ภาษาไทยจะกระดิกหูไหมเนี่ย)

ปัญหาที่พบหลักๆมีสองอย่าง

๑ รูปประโยคภาษาไทยปัจจุบัน ที่ไม่ค่อยใช้เครื่องหมายต่างๆ เช่น คอมม่า (เรียกว่าอะไรหว่า) ทำให้ถอดประโยคสลับซับซ้อนออกมาให้คนอ่านเข้าใจได้และสำนวนสละสลวยทำได้ยาก
๒ ศัพท์บัญญัตไทย นิยมใช้คำไทยมาแทนศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศ ทำให้เวลาแปลแล้ว คนอ่านจะบอกได้ยากว่า ครงไหนเป็นคำธรรมดา ตรงไหนเป็นศัพท์เทคนิค และถ้าในอนาคตจะไปเขียนโปรแกรมมาทำ text processing แล้วยิ่งเข้าป่าไปเลย
ตัวอย่างเช่น คำว่า species น่าจะใช้ว่า สปีชี่ส์ มากกว่า ชนิด และคนไทยไม่น้อยแม้นักวิชาการเองก็เผลอไปใช้คำที่ไม่ถูกว่า สายพันธุ์ แทน ซึ่งบัญญัติไว้สำหรับคำว่า strain

การไม่ทับศัพท์เป็นการไม่ฉลาด คงเป็นเพราะนักภาษาไทยเป็นคนบัญญัติ แต่ไม่ได้ถามนักวิทยาศาสตร์ มุ่งสอนให้คนธรรมดาเข้าใจ พอสื่อความหมายได้คร่าวๆ แต่ไม่ได้คำนึงถีงผลเสียคือ unequivocal clarity / unambiguous meaning

โพสต์แรก

ไม่รู้ว่า บล๊อกนี้จะยืนยาวไปแค่ไหน เพราะเวลาไม่ค่อยมี แต่คำศัพท์ไทยก็เป็นอะไรที่เราสนใจมากๆ และการเก็บไว้ในนี้ก็อาจจะมีประโยชน์กับคนอื่นก็ได้
เนื้อหาในบล๊อกนี้่ก็คงจะเป็นอะไรๆที่เกี่ยวกับคำ ที่มีใช้ในภาษาไทย ที่เราไปเจอมาและเราใส่ความเห็นส่วนตัวเข้าไปด้วย